วันนี้ (4 มิถุนายน 2564) มีการทดลองระบบการให้บริการฉีดวัคซีนกับประชาชนกลุ่มสูงอายุ และ 7 กลุ่มเสี่ยงฯ ณ ศูนย์กีฬาและสุขภาพ (โรงยิม) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หลังจากที่มีการเปิดให้ลงทะเบียนเพื่อรับวัคซีนโควิด- 19 ผ่านระบบหมอพร้อม ปรากฏว่ามีผู้สนใจลงทะเบียนเป็นจำนวนมาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้ร่วมกับโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทศาสตร์ จัดตั้งสถานที่รับวัคซีนโควิด – 19 ณ ศูนย์กีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาที่โรงพยาบาล หรืออยู่โรงพยาบาลเพียงระยะสั้นๆ แล้วไปพักฟื้นต่อที่บ้านหรือสถานพักฟื้น ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการน้อยนี้ ส่วนใหญ่จะค่อย ๆ ดีขึ้นจนหายสนิท แต่ในช่วงปลายสัปดาห์แรก ผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการมากขึ้นได้ ผู้ป่วยต้องคอยสังเกตอาการ เมื่อไม่แน่ใจ โทรศัพท์ปรึกษา หรือเข้าไปรับการตรวจประเมินที่โรงพยาบาลก่อน ก็จะทำให้ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมได้
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะนำสำหรับแม่หลังคลอดที่เข้าข่ายสงสัยติดเชื้อหรือได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อ COVID-19 สามารถให้นมลูกได้ แต่ต้องมีการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้ออย่างเคร่งครัด พร้อมแนะนำสำหรับผู้บริจาคอาหารสําหรับทารก และอาหารสําหรับเด็กเล็ก ให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.2560
หน้ากากอนามัยถือว่าป…
ทีมนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้นำโจทย์งานวิจัยการผลิตเส้นใยนาโนด้วยเทคนิคอิเล็กโทรสปินนิง หรือ การปั่นเส้นใยจากพอลิเมอร์ ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ขนาดนาโนเมตรจนถึงไมโครเมตร จากสารละลายพอลิเมอร์ หรือพอลิเมอร์หลอมเหลว มาพัฒนาเป็นแผ่นกรองเส้นใยเพิ่มประสิทธิภาพหน้ากากผ้าคุณภาพใกล้เคียง N95 (Sci-Mask Filter) และมีราคาถูกกว่าท้องตลาด 2-3 เท่า
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้นำเสนอการดำเนินงานของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้สถานการณ์การระบาดของ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ต่อที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์นัดพิเศษ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2563 ซึ่งเป็นการประชุมทางไกลโดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธาน
จากวิกฤติโควิด-19 คณาจารย์และนักศึกษาศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านการวิเคราะห์สารปริมาณน้อยและไบโอเซนเซอร์ (TAB–CoE) ร่วมกับ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ทดสอบแอลกอฮอล์เพื่อตรวจสอบหาเมทานอล ในแอลกอฮอล์ชนิดเจลและชนิดสเปรย์ ที่นำมาเพื่อลดความเสี่ยงโควิด-19 ด้วยเทคนิคเฮดสเปซแก๊สโครมาโทกราฟีที่มีตัวตรวจวัดชนิดเฟลมไอออไนเซชัน (HS-GC-FID) โดยวิเคราะห์เชิงคุณภาพเพื่อจำแนกชนิดของแอลกอฮอล์ที่ใช้ในการผลิตที่อาศัยการเทียบค่ารีเทนชันไทม์กับสารละลายมาตรฐานของเมทานอล (MeOH) เอทานอล (EtOH) และไอโซโพรพานอล (IPA) ตรวจพบร้อยละ 10 ของเจลแอลกอฮอล์ที่นำมาทดสอบเป็นอันตราย เตือนผู้บริโภค ตรวจสอบก่อนใช้
ประชาชนกลุ่มเสี่ยง สามารถขอรับบริการวัคซีนได้ที่ สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ และสถานพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อและเสียชีวิตกันเป็นจำนวนมาก อีกทั้งบุคลากรทางการแพทย์ต้องรับศึกหนัก เพราะมียอดผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกวัน ในพื้นที่ภาคใต้โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เป็นหน่วยงานที่ดูแลผู้ป่วยจากเชื้อไวรัสดังกล่าว และได้เปิดโรงพยาบาลสนามต้นแบบการจัดสถานที่เพื่อดูแลพักฟื้นผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการขาลงแห่งแรกในประเทศไทย คือโรงพยาบาลสงขลานครินทร์สาขา 2 จังหวัดสงขลา และโรงพยาบาลสนามจังหวัดภูเก็ต ซึ่งรูปแบบการคัดกรองผู้เข้าออกโรงพยาบาลนั้น ใช้การวัดอุณหภูมิด้วยเครื่องเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้อินฟราเรด โดยใช้บุคลากรทางการแพทย์ 1 ท่านยืนประจำตำแหน่งและใช้เครื่องมือเพื่อวัดอุณหภูมิโดยมีระยะห่าง 2-4 เซนติเมตร ถือว่าเป็นหน้าที่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และองค์การเภสัชกรรม ร่วมกันทำการวิจัยฟ้าทะลายโจรกับไวรัสโควิด-19 และได้เปิดเผยผลการศึกษาประสิทธิผลของสารสกัดฟ้าทะลายโจร และสารแอนโดรกราโฟไลด์ในฟ้าทะลายโจรในหลอดทดลอง พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสโควิด-19 ได้ แต่ไม่มีฤทธิ์ในการป้องกันเซลล์จากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ขณะนี้ได้เตรียมศึกษานำร่องผลของยาสารสกัดฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในระดับความรุนแรงน้อยภายเดือนเมษายน-กรกฏาคมนี้