Tag: โควิด19

Home / โควิด19

กรมควบคุมโรค เตือนสถานการณ์โควิด 19 เป็นขาขี้น ยังไม่ผ่อนมาตรการป้องกันโรค เร่งฉีดวัคซีนคู่ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และโควิด 19 เพื่อลดป่วยหนักและเสียชีวิต

นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2566 องค์การอนามัยโลก ประกาศสิ้นสุดภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ กรณีโรคโควิด 19 แต่ยังเตือนให้ทุกประเทศยังคงต้องเฝ้าระวัง และป้องกันควบคุมการระบาดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเร่งรัด การฉีดวัคซีนเพื่อให้มีระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคโควิด 19 เพียงพอในระดับบุคคลและประชากร เพื่อลดโอกาสป่วยหนักและเสียชีวิตจากโควิด 19 โดยสามารถใช้วัคซีนชนิดใดหรือรุ่นใดก็ได้ ฉีดปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ ให้เว้นระยะห่างจากเข็มสุดท้ายหรือประวัติการติดเชื้ออย่างน้อย 3 เดือน ที่สำคัญสามารถฉีดพร้อมกับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ โดยฉีดที่ต้นแขนคนละข้าง และในสัปดาห์นี้โรงเรียนมีการเปิดภาคเรียน ขอให้ผู้ปกครองและครูสังเกตอาการ คัดกรองเด็กป่วยด้วยอาการทางเดินหายใจ เช่น ไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ให้หยุดอยู่บ้านรักษาให้หายก่อน จะลดโอกาสแพร่เชื้อในโรงเรียน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

สคร.12 สงขลา เชิญชวนประชาชนรับวัคซีนโควิด 19 โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ ย้ำ วัคซีนเข็มกระตุ้น มีความจำเป็น ลดความเสี่ยงป่วยหนักและเสียชีวิต

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา (สคร.12 สงขลา) เชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง และ ผู้สูงอายุ ที่ยังไม่ได้รับเข็มกระตุ้น หรือยังไม่ได้รับวัคซีน ให้ไปรับวัคซีน ตามกำหนดเพื่อลดความเสี่ยง หากติดเชื้อจะมีอาการป่วยหนักและเสียชีวิตได้

ศูนย์พักคอยศูนย์โรงช้าง สำหรับนักศึกษาม.อ. ที่ติดเชื้อโควิด-19 ภายใต้การดูแลของแพทย์ รพ.สงขลานครินทร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดตั้งศูนย์พักคอยศูนย์โรงช้างม.อ. เพื่อเป็นสถานที่รองรับนักศึกษาม.อ. ที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการหรือมีอาการเล็กน้อย (ผู้ป่วยโซนสีเขียว) ภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อีกทั้งเพื่อเป็นการแบ่งเบาการดูแลผู้ติดโควิด19 ของศูนย์กักตัวอื่นๆในพื้นที่จังหวัดสงขลา

ม.อ. จัดเสวนาถอดบทเรียน โควิด-19 ในภาคใต้ตอนบน สร้างองค์ความรู้ และความร่วมมือ ม.อ. กับชุมชน

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จัด เสวนา และถอดบทเรียน การบริหารจัดการของการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในภาคใต้ตอนบน ผ่านระบบการประชุมออนไลน์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2554 จาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี ในการกล่าวเปิด และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมการเสวนา ที่ประกอบด้วย 2 หัวข้อ คือ เรื่อง “สถานการณ์โควิด - 19 (COVID-19) ของโลก ประเทศไทย และจังหวัดภาคใต้ตอนบน พร้อมถ่ายทอดเรื่องราว สมุย พลัส โมเดล” และ การเสวนาเพื่อการถอดบทเรียน พร้อมหาแนวทางร่วมกันกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ของการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ตอนบน

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ รพ.สงขลานครินทร์ ระบุผู้ป่วยโควิด19 สามารถติดเชื้อซ้ำได้แต่พบจำนวนน้อย

ปัจจุบันประเทศจีน พบรายงานการติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำได้ร้อยละ 14 ภายใน 1 สัปดาห์หลังจากผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล โดยพบว่าผู้ป่วยที่มีการติดเชื้ออีกครั้งมักพบในผู้สูงอายุ มีภูมิคุ้มกันต่ำ และมีโรคประจำตัวหลายชนิด ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าผู้ป่วยเหล่านี้มีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ไม่สูงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อซ้ำ หรือผู้ป่วยเหล่านี้อาจจะมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อซ้ำจากผู้ป่วยคนอื่นในชุมชน

ตารางตรวจสอบอาการโควิด-19 เบื้องต้นเพื่อจัดวิธีรักษาที่เหมาะสม

สถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายวันตั้งแต่การระบาดระลอกเดือนเมษายน 2564 แสดงให้เห็นถึงจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นทะลุ 15,000 รายต่อวัน ท่ามกลางตัวเลขที่สูงขนาดนี้ ส่งผลกระทบให้หลายโรงพยาบาลงดรับตรวจชั่วคราว รวมถึงปรากฏการณ์เตียงไม่พอต่อความต้องการของผู้ป่วย ทำให้กรมการแพทย์เองต้องออกนโยบายใหม่ อนุญาตให้ผู้ป่วยสามารถซื้อ Antigen Test Kit ไปตรวจเองที่บ้านได้ และหากอาการไม่รุนแรงก็สามารถขอแยกรักษาเองแบบ Home Isolation ตามข้อกำหนดได้เลย 

จังหวัดสงขลา ยกระดับควบคุมการเดินทางเข้า-ออก จังหวัดสงขลา

กรณีมีความจำเป็นต้องเดินทางออกจากจังหวัดสงขลา สามารถขอใบรับรองอนุญาตการเดินทางออกนอกจังหวัดสงขลา ได้ที่ ที่ว่าการอำเภอโดยนายอำเภอ หรือผู้ที่มอบหมาย สถานีตำรวจโดยหัวหน้าสถานีตำรวจ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมาย ** การขอใบรับรองจะต้องขอเป็นรายบุคคลเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ขอเป็นรายกลุ่ม

เชื้อราดำ พบในผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอในประเทศอินเดีย

ศาสตราจารย์ ดร.เสาวลักษณ์ พงษ์ไพจิตร อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. กล่าวว่า เชื้อราดำที่พบในประเทศอินเดีย เรียกว่า เชื้อมิวคอร์ไมโคซิส ลักษณะเป็นเส้นฝอยสีเทา-ดำ เจริญอิสระอยู่ในธรรมชาติมีสปอร์ล่องลอยอยู่ในอากาศสามารถพบได้ทั่วไป ปกติไม่ใช่เชื้อราที่เป็นอันตรายต่อคนที่ร่างกายปกติแข็งแรง แต่จะส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่อ่อนแอ หรือผู้ที่รับประทานยาสเตียรอยด์เพื่อรักษาอาการอักเสบในปอดที่มีผลกดภูมิคุ้มกัน โดยก่อนหน้านี้สหรัฐอเมริกาเคยพบเชื้อราเช่นกัน

กรมควบคุมโรค เผยแนวปฏิบัติในการออกหนังสือรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันกรณีโรคโควิด 19 เพื่อใช้สำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยแนวปฏิบัติในการออกหนังสือรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันกรณีโรคโควิด 19 เพื่อใช้สำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ (เล่มเหลืองโควิด) ในผู้ที่รับการฉีดวัคซีนครบถ้วน โดยสามารถขอรับหนังสือรับรองดังกล่าวได้ที่ 4 หน่วยงานในสังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ว่าด้วยเรื่องกฎหมายกับการบังคับฉีดวัคซีนโควิด-19

การเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ประชาชนส่วนใหญ่จึงประสงค์ที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีน แต่ในทางกลับกันก็อาจจะมีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ประสงค์จะเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ทางรัฐบาลจัดให้ โดยมีเหตุผลหรือความจำเป็นบางประการ เช่น ปัญหาสุขภาพจึงทำให้ไม่สามารถเข้ารับรับวัคซีนได้ มีความเชื่อว่าการรับวัคซีนเป็นการขัดต่อหลักการทางศาสนา หรือมีความกังวลในประสิทธิภาพของวัคซีนที่อาจจะส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายได้