ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ (ธปท.) ได้จัดงานสัมมนาทางวิชาการ ประจำปี 2566 “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจใต้ ด้วยพลังคนรุ่นใหม่” ในวันพุธที่ 16 สิงหาคม 2566 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อให้ภาคธุรกิจและประชาชนในภาคใต้ได้รับทราบทิศทาง เศรษฐกิจการเงิน นโยบาย ธปท. รวมถึงประมาณการเศรษฐกิจภาคใต้ในอีก 2 ปีข้างหน้า เพื่อการวางแผนของภาคธุรกิจและครัวเรือน นอกจากนี้ ยังได้กลุ่มคนคิดใหม่มาแลกเปลี่ยนมุมมอง แนวคิด และประสบการณ์ รวมถึงยังได้ชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ในการขับเคลื่อนและยกระดับเศรษฐกิจภาคใต้ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาและรับชมผ่านช่องทางออนไลน์ จากภาคธุรกิจ การเงิน การศึกษา ภาครัฐ และประชาชนทั่วไป โดยงานสัมมนาแบ่งเป็น 3 ช่วง
GACC จัดงานนิทรรศการตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา ครั้งที่ 25 “เลือกแนวทางการศึกษา วางอนาคตสู่เส้นทางอาชีพ”
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย ศูนย์กิจการนานาชาติและสื่อสารองค์กร ร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และเครือข่ายมหาวิทยาลัย เปิดงานนิทรรศการตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา ครั้งที่ 25 เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่หลักสูตรระดับอุดมศึกษาทั้งหลักสูตรไทยและนานาชาติ ข้อมูลทางการศึกษา แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ครู ผู้ปกครอง รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป สร้างความเข้าใจและการตัดสินใจของนักเรียนในการเลือกเข้าศึกษาในสาขาที่ถนัด โดยมี ผศ. ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งมีนักเรียนจากโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาใน 14 จังหวัดภาคใต้เข้าร่วมอย่างคึกคัก ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
ม.อ. ร่วมกับ ชุมชนมัสยิด ซาฮิ ปากีสถาน นำเสนอคุณค่าของทุนวัฒนธรรม ภายใต้งาน “ชวนกันมาจิบชาปากีฯ”
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ร่วมกับ ชุมชนมัสยิด ซาฮิ ปากีสถาน จัดกิจกรรมภายใต้งาน “ชวนกันมาจิบชาปากีฯ” ในวันที่ 16 สิงหาคม 2566 ณ มัสยิดปากีสถาน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในงานเทศกาลออกแบบปักษ์ใต้ครั้งแรกของภาคใต้ Pakk Taii Design Week ร่วมกับเครือข่ายนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ มุ่งเป้าหมายเพื่อนำเสนอคุณค่าของทุนวัฒนธรรมผ่านเรื่องราวความเป็นมา วิถีชีวิตของชาวมุสลิมปากีสถานในอำเภอหาดใหญ่ ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ศึกษาของโครงการวิจัย “วิถีมงคลของนครหาดใหญ่บนฐานทุนวัฒนธรรมสู่การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์”
กษจ.สงขลา มุ่งส่งเสริมอาชีพด้านเกษตร ตามอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมกำหนดแนวทางการพัฒนาทุเรียนสงขลา สู่ทุเรียนคุณภาพ
จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ปลูกทุเรียน ทั้งหมด 22,900 ไร่ ใน 12 อำเภอ ของจังหวัดสงขลา พื้นที่ที่ให้ผลผลิตแล้ว จำนวน 18,229 ไร่ โดยอำเภอที่มีพื้นที่ให้ผลผลิตทุเรียนมากที่สุด ได้แก่ อำเภอนาทวี 6,231 ไร่ อำเภอสะบ้าย้อย 4,442 ไร่ อำเภอรัตภูมิ 2,158 ไร่ อำเภอสะเดา 1,405 ไร่ และอำเภอจะนะ 1,360 ไร่ รวมเป็น 15,596 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 85.56 จังหวัดสงขลามีการพัฒนาทุเรียน ดังนี้ 1. ส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ทุเรียน 2. ยกระดับคุณภาพมาตรฐาน GAP ครอบคลุมทุกแปลง (ทุเรียน) ในปี 2569 3. ควบคุมการซื้อขายทุเรียนป้องกันทุเรียนอ่อน ตามมาตรการ จังหวัดสงขลา ปี 2566 4. จัดการความรู้การผลิตทุเรียนคุณภาพเชิงพื้นที่ และ 5. จัดตั้งเป็นสมาคมหรือสมาพันธ์ เพื่อให้การบริหารจัดการด้านการผลิตและการตลาดมีความคล่องตัวขึ้น
อบจ.สงขลา แถลงข่าวโครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล (Transit Oriented Development : TOD) สถานีคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สนับสนุนประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อลดปัญหาจราจรของเมืองหาดใหญ่
เมื่อวันที่ (4 ส.ค. 66) ที่ห้องแกรนด์ คอนเวนชั่น ฮอลล์ บี โรงแรมลี การ์เดนส์ พลาซ่า หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานแถลงข่าวและประชุมรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน (Market Sounding) โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล (Transit Oriented Development : TOD) สถานีคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีท้องถิ่นจังหวัดสงขลา ผู้ที่สนใจลงทุนในการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ตลอดจนสื่อมวลชนทุกแขนงสนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
สยามอะโกรวิลล์ บริษัทร่วมทุนไทย-มาเลเซีย ผนึกกำลังกับอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ ชูนวัตกรรมฟาร์มโซลูชั่น ขับเคลื่อนภาคเกษตรไทยปลอดภัยอย่างยั่งยืน
บริษัท สยามอะโกรวิลล์ จำกัด ร่วมกับ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ จัด “พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การดำเนินกิจกรรมวิจัยและพัฒนาการทำเกษตรแบบแม่นยำ” ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.30-11.30 น. ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จ.สงขลา โดยมี ผศ.คำรณ พิทักษ์ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ กล่าวต้อนรับ และคุณสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวแสดงความยินดี
สคร.12 สงขลา เตือนระวัง ไข้หวัดใหญ่ระบาดในโรงเรียน
สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 กองระบาดวิทยา) มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ สะสมรวม 67,460 ราย ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต สำหรับในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 พบผู้ป่วย 6,781 ราย ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ พัทลุง (1,791 ราย) รองลงมาคือ นราธิวาส (1,666 ราย), สงขลา (1,541 ราย), ยะลา (748 ราย), ตรัง (530 ราย), ปัตตานี (263 ราย) และสตูล (242 ราย) โดยพบผู้ป่วยในกลุ่มนักเรียน/นักศึกษา มากที่สุด ร้อยละ 38.58 รองลงมาคือกลุ่ม เด็กในปกครอง ร้อยละ 33.03 และอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 14.44
GACC ร่วมจัดนิทรรศการแนะนำหน่วยงาน ในงาน Music Art Craft Coffee and Books ที่ ม.อ.ปัตตานี
งาน Music Art Craft Coffee and Books (MACCaB) จัดโดยงานทุนการศึกษาและส่งเสริมทักษะอาชีพ กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพื่อให้นักศึกษาได้เปิดโลกทรรศน์ในการเรียนรู้ ให้สามารถเตรียมตัวเองเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งเป็นการสานสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษา บุคลากร ศิษย์เก่า เพื่อสร้างความเป็น PSU System ตลอดจนเพื่อสร้างเครือข่ายกิจกรรมสร้างสรรค์ระหว่างสถานศึกษา หน่วยงานต่างๆ และประชาชน โดยกิจกรรมน่าสนใจในงานทั้ง 2 วัน นอกจากมีกิจกรรมสร้างสรรค์สนุกสนานและน่าเรียนรู้สำหรับทุกคนแล้ว ยังมีกิจกรรมส่งเสริมประสบการณ์อาชีพ เช่น Workshop Coffee “Cupping กับการรู้จักกาแฟ” เสวนาหัวข้อ “ทิศทางกาแฟในปัตตานี และ หัวข้อ “หนังสือเปลี่ยนเมืองปัตตานี”
สคร.12 สงขลา เตือนประชาชนลงเล่นน้ำทะเล ระมัดระวังแมงกะพรุนหัวขวด
แมงกะพรุนหัวขวด มีลักษณะส่วนบนลอยโผล่พ้นน้ำคล้ายลูกโป่งรูปร่างรี ยาว คล้ายหมวกของทหารเรือชาวโปรตุเกส มีหนวดยาวสีฟ้าหรือสีม่วง มีเข็มพิษ (nematocyst) สำหรับป้องกันตัวและจับเหยื่อ กระจายอยู่ทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณหนวด (tentacle) สำหรับพิษของแมงกะพรุนหัวขวด มีผลต่อระบบประสาท หัวใจ และผิวหนัง ส่วนใหญ่ผู้ที่สัมผัสพิษจะมีอาการคัน และปวดแสบปวดร้อนในเบื้องต้น โดยการแสดงอาการของพิษในผู้ป่วยแต่ละบุคคลความรุนแรงจะต่างกัน ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกาย ความต้านทาน และปริมาณพิษที่ได้รับ
นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ร่วมกับภาคีเครือข่าย พบพืชวงศ์กระดังงา 2 ชนิดใหม่ของโลก
รศ.ดร.จรัล ลีรติวงศ์ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ Prof. Dr. David M. Johnson: Biological Science Department, Ohio Wesleyan University, Delware, Ohio, U.S.A ดร.จิรัฐิ สัตถาพร: ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมรา และ นายสุเนตร การพันธ์: สถานีวิจัยสัตว์ป่า ป่าพรุ ป่าฮาลา-บาลา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา พบพืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลบุหงาเซิง (Friesodielsia Steenis) ของพืชวงศ์กระดังงา (Annonaceae) จำนวน 2 ชนิดซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ฐาน WOS ระดับ Quartile 3 ชื่อวารสาร Phytotaxa