Author: admin

Home / admin

จ.สงขลา จัดแถลงข่าว โครงการ Kick off ลดความแออัด ลดเวลารอคอยของคนไข้ เพื่อเพิ่มช่องทางการรับยาให้กับประชาชน

เมื่อวันที่ 1 มี.ค.66 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สภาเภสัชกรรม สมาคมเภสัชกรรมชุมชน(ประเทศไทย) โรงพยาบาลหาดใหญ่ ชมรมเภสัชกรชุมชนจังหวัดสงขลา ชมรมร้านยาจังหวัดสงขลา และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รวมแถลงข่าว “โครงการ Kick off การลดความแอดอัด ลดเวลารอคอยของคนไข้” โดยมีผู้เข่าร่วมแถลงข่าวประกอบด้วย ภญ.วิไลวรรณ สาครินมร์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา, นายแพทย์วีระพันธ์ ลีธนะกุล ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา, นายแพทย์ไชยสิทธิ์ เทพชาตรี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหาดใหญ่, รศ.(พิเศษ)ภก.กิตติ พิทักษ์นิติพันท์ นายกสภาเภสัชกรรม, ภก. สมพงษ์ อภิรมย์ นายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) , ผศ.นฤบดี ผดุงสมบัติ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ผู้จัดการสถานปฏิบัติการทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ภญ.ภาชินี เสาร์แก้ว ตัวแทนร้านขายยาชุมชนอบอุ่นลดความแออัด รูปแบบที่ 3 ร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้ ณ ชั้น 5 ห้องนิทรรศการ อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

1 มี.ค. 66 ตรวจสอบสถานะ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม เผยว่า จากที่ประชุม เมื่อวันที่ 23 ก.พ. ที่ผ่านมา ได้มีมติให้ประกาศรายชื่อ "ผู้ผ่านคุณสมบัติ" รับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ "บัตรคนจน" จำนวน 14.50 ล้านคน ในวันที่ 1 มี.ค. 2566 นี้ และให้ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติยืนยันตัวตนภายใน 30 วัน เพื่อเริ่มรับและใช้สิทธิตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2566 เป็นต้นไป

3 ช่องทางย้ายสิทธิบัตรทองผ่านระบบออนไลน์

สิทธิบัตรทองหรือโครการ 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นโครงการที่ให้บริการการรักษาโรคเบื้องต้นให้กับประชาชในประเทศไทยในราคา 30บาทเท่านั้น โดยโครงการนี้เริ่มเปิดบริการในปี พ.ศ.2547 โดยโรงพยาบาลของรฐจะให้บริการรักษาโรคเบื้องต้นที่สามารถรักษาได้ในระยะเวลาสั้นๆ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ แพ้ท้อง และเจ็บคอ เป็นต้น โดยมีสิทธิใช้บริการสำหรับผู้มีบัตรประจำตัวประชาชนไทย ประกันสังคมหรือกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยต้องชำระเงินค่าบริการรักษาโรคเบื้องต้นในโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น โดยไม่รวมถึงการรรักษาโรคที่ซับซ้อนและต้องใช้เครื่องมือแพร่หลาย โครงการนี้เป็นหนึ่งในการส่งเสริมการให้บริการสุขภาพที่สะดวกและมีคุณภาพให้กับประชาชนทั่วไปในประเทศไทย

ม.อ. เปิดหลักสูตรผู้ดำเนินการสปาเพื่อสุขภาพ ที่แรกของภาคใต้ตอนล่าง มุ่งผลิตกำลังคนรองรับตลาดแรงงานด้านสปา

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร่วมกับ ชมรมธุรกิจบริการสุขภาพภาคใต้ (ตอนล่าง) จัดงานแถลงข่าวเปิดหลักสูตรผู้ดำเนินการสปาเพื่อสุขภาพ 100 ชั่วโมง ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกของภาคใต้ตอนล่าง เพื่อผลิตบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบริการสปาและส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานด้านสปาของประเทศ โดยมี รศ. ดร.ศิริลักษณ์ บางโชคดี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมด้วย ผศ. ดร.เชิดชัย อุดมพันธ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ คุณภารรัฐ กรัณย์สุกสี รองประธานชมรมธุรกิจบริการสุขภาพภาคใต้ (ตอนล่าง) ร่วมแถลงข่าว ณ ห้องประชุมใหญ่ 210 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566

สธ.สงขลา เตือนประชาชนระวังถูกสุนัข แมวกัดหรือข่วน เน้นย้ำมาตรการ 5 ย ลดความเสี่ยงโรคพิษสุนัขบ้า

สุนัขบ้า (Rabies) หรือโรคกลัวน้ำ (Hydrophobia) เป็นโรคติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง ที่มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต พบในสัตว์เลือดอุ่นทุกชนิด ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าและยังติดต่อมาสู่คน พาหะนำโรคที่สำคัญคือสุนัข รองลงมาคือแมว และสัตว์เลี้ยงพวกโค กระบือ สุกร ม้า และสัตว์ป่าที่เลี้ยงลูกด้วยนม สาเหตุการติดเชื้อที่สำคัญที่สุดคือ การถูกสัตว์ทีมีเชื้อพิษสุนัขบ้า ข่วน เลีย หรือน้ำลายสัตว์กระเด็นเข้าแผลรอยขีดข่วน เยื่อบุตา จมูก ปาก เชื้อจะยังคงอยู่บริเวณนั้นระยะหนึ่ง โดยเพิ่มจำนวนในกล้ามเนื้อ ก่อนจะผ่านเข้าสู่เส้นประสาทส่วนปลายไขสันหลังและเข้าสู่สมอง  มีการแบ่งตัวในสมอง พร้อมทำลายเซลล์สมอง และปล่อยเชื้อกลับสู่ระบบขับถ่ายต่าง ๆ เช่น ต่อมน้ำลาย น้ำปัสสาวะ น้ำตา ตามแขนงประสาทต่าง ๆ ทำให้เกิดอาการบางรายเกิดอาการช้านานเกิน 1 ปี บางรายเกิดอาการเร็วเพียง 4 วันเท่านั้น แต่โดยเฉลี่ย 3 สัปดาห์ถึง 4 เดือน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับจำนวนเชื้อที่เข้าไป บาดแผลใหญ่ ลึก หรือมีหลายแผล ตำแหน่งที่เชื้อเข้าไป ถ้าอยู่ใกล้สมองมาก เชื้อก็จะเดินทางไปถึงสมองได้เร็ว นอกจากนั้น สามารถติดต่อจากการกินได้ถ้ามีบาดแผลภายในช่องปากและหลอดอาหาร ซึ่งจะพบกรณีสัตว์ กินเนื้อสัตว์ที่ป่วยตายใหม่ ๆ  สุนัขและแมวที่ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ก่อนแสดงอาการ เพราะเชื้อจะออกมาในน้ำลายเป็นระยะ ประมาณ 1-7 วันก่อนแสดงอาการ

ศูนย์อาสาสมัคร ม.อ.หาดใหญ่ เปิดรายวิชาผู้นำจิตอาสา การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน เน้น น.ศ.มีส่วนร่วมกับสังคม

ศูนย์อาสาสมัครเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นองค์กรที่มีบทบาทในการสนับสนุนการปลูกฝังนักศึกษา บุคลากรและบัณฑิต ให้มีคุณลักษณะที่เป็น “คนดีและมีทักษะด้านอาสาสมัครเพื่อสังคมแบบมืออาชีพ” ซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญของศูนย์อาสาสมัครเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มุ่งยกระดับขีดความสามารถของบุคลากรศูนย์อาสาสมัครเพื่อสังคมให้มีขีดความสามารถในการประสานความร่วมมือเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้ง 5 วิทยาเขตให้เกิดเป็นทีมงานคุณภาพ (Coaching Team) เพื่อพัฒนาระบบอาสาสมัคร ประกอบด้วยบัณฑิตอาสา เจ้าหน้าที่กองกิจการนักศึกษา ตัวแทนภาคประชาสังคม อาจารย์หรือนักวิชาการอาสา รวมถึงแกนนำชุมชน ที่พร้อมดำเนินงานสร้างแรงบันดาลใจ พัฒนาศักยภาพการทำงานอาสาสมัครและพัฒนาความร่วมมือในการยกระดับการขับเคลื่อนงานอาสาสมัครร่วมกับกลุ่มนักเรียน นักศึกษา บัณฑิต บุคลากร ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัยผู้เกษียณ รวมถึงเครือข่ายภาคประชาสังคม แกนนำชุมชนและประชาชนทั่วไปให้มีคุณประโยชน์เพื่อสังคมที่ยั่งยืนแก่ภาคใต้ต่อไป

สงขลานครินทร์ จับมือ 7 มหาวิทยาลัย ลงนามบันทึกความเข้าใจเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network : RUN) ระยะที่ 3

เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ห้องประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ 8 มหาวิทยาลัยร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network : RUN) ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ สภาพัฒน์ฯ เปิดเวทีระดมความคิดเห็น โครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี

เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยกองยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ปรึกษาโครงการ จัดการประชุมปฐมนิเทศ โครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมีนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมโครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวรายงาน

นักวิจัย ม.อ. ค้นพบ “เอื้องแฝงบริพัตร” กล้วยไม้อาศัยราชนิดใหม่ของโลก

รศ.ดร.สหัช จันทนาอรพินท์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการแลบ้านแลเมือง เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 ว่า กล้วยไม้เอื้องแฝงบริพัตรชนิดนี้ ได้พบครั้งแรกที่น้ำตกบริพัตร จึงมีการตั้งชื่อว่า “เอื้องแฝงบริพัตร” และเนื่องจากในชื่อสกุลของกล้วยไม้สกุลนี้จะอยู่ในสกุล Aphyllorchis โดย Aphyll = ไม่มีใบ orchis = กล้วยไม้ ซึ่งแปลจากภาษาละตินตรงๆก็คือ กล้วยไม้ที่ไม่มีใบ ทั้งนี้คนไทยที่เป็นกลุ่มนักธรรมชาติวิทยาที่สนใจกล้วยไม้ มักจะเรียกกล้วยไม้สกุลนี้ว่า สกุลเอื้องแฝง และก็ได้พบว่ามันมีอีกชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อน จึงใช้ชื่อว่า “เอื้องแฝงบริพัตร” โดยเป็นชนิดที่พบบริเวณน้ำตกบริพัตรครั้งแรก ซึ่งจริงๆแล้วมันไม่ได้พบแค่ที่น้ำตกบริพัตรแต่จะพบได้ในที่อื่นๆอีกด้วย 

“ประกันสังคม” ชวนประชาชนแสดงความคิดเห็น ร่างกฎกระทรวงกำหนดเพดานค่าจ้างผู้ประกันตนมาตรา 33 ภายใน 28 ก.พ.2566 ประเด็นปรับฐานค่าจ้างจาก 15,000 บาท เป็นสูงสุดไม่เกิน 23,000 บาท จ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้นจากเดิม 750 บาทเป็น 1,150 บาท

กระทรวงแรงงาน ได้เปิดรับฟังความเห็น “ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. … “ ผ่านทางเว็บไซต์ระบบกลางกฎหมาย law.go.th โดยจะปิดรับฟังความเห็นในวันที่ 28 ก.พ. 2566 สาระสำคัญของร่างกฎหมายที่กระทรวงแรงงานกำลังผลักดัน คือการปรับเพดานฐานค่าจ้างในการคำนวณการจ่ายเงินสมทบใหม่ โดยเสนอให้ปรับฐานค่าจ้างขั้นสูงจากเดิม 1.5 หมื่นบาท เป็นเพดานใหม่สูงสุดไม่เกิน 2.3 หมื่นบาท ซึ่งจะปรับอย่างค่อยเป็นค่อยไป