มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ ภาคเอกชน พัฒนาชุดทดสอบเพื่อตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นำโดย ผศ.ดร.ธีรกมล เพ็งสกุล ดร.จิดาภา เซคเคย์ ดร.ปิยะวุฒิ แสวงผล ดร.ธีรภัทร นวลน้อย ดร.ณัฏฐาภรณ์ ณ นคร และ ดร.ปวีณา วงศ์วิทย์วิโชติ จากคณะเทคนิคการแพทย์ และคณะเภสัชศาสตร์ โดยชุดตรวจนี้ใช้สำหรับตรวจคัดกรองผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงได้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาตรวจประมาณ 15-20 นาที
ทำอย่างไรให้ปอดแข็งแรงในช่วง COVID-19
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อหลายรายเสียชีวิต จากการที่เชื้อไวรัสเข้าทำลายปอดจนทำให้ปอดอักเสบขั้นรุนแรง รวมถึงเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยบางราย ระดับความรุนแรงของผู้ป่วยที่รับเชื้อโควิด19 มีระดับต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพความแข็งแรงและภูมิต้านทางของแต่ละบุคคล ดังนั้นเราต้องหมั่นดูแลปอดให้แข็งแรง เพื่อป้องกันไวรัส COVID-19
เลิกบุหรี่ไม่ยากอย่างที่คิด หากทำถูกวิธี
บุหรี่ธรรมดา และบุหรี่ไฟฟ้า ล้วนแต่มีสารเคมีที่มีโทษต่อร่างกาย หากอยากเลิกบุหรี่ธรรมดาแล้วหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้านั้น นอกจากจะไม่ได้ช่วยให้มีความอันตรายต่อสุขภาพน้อยลง ร้ายไปกว่านั้นยังทำให้ผู้สูบยังคงติดพฤติกรรมการสูบ ส่งผลให้อัตราการสูบบุหรี่โดยรวมทั้งบุหรี่ธรรมดาและไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
กรมการแพทย์ เตือน !! การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุโรคร้าย
กรมการแพทย์ เตือนการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุโรคร้าย ไม่เพียงแค่ส่งผลร้ายแค่ตัวผู้ที่สูบบุหรี่ แต่สามารถส่งผลร้ายต่อบุคคลอื่นๆรอบข้าง ที่เรียกว่า “พิษร้ายของควันบุหรี่มือสอง” หากคุณไม่ต้องการทำร้ายสุขภาพของตัวเองและคนที่คุณรัก กรมการแพทย์แนะนำเลิกบุหรี่ไม่ยากอย่างที่คิด จะส่งผลดีเกิดขึ้นทันที หากเลิกได้ภายใน 1 ปี สามารถลดความเสี่ยงโรคหัวใจวายได้ถึง 50% และหากเลิกได้ถึง 5 ปีสามารถลดเสี่ยงโรคสมอง 50%
วันรำลึกถึง “มาร์กาเร็ต ลิน เซเวียร์” (คุณหญิงลิน ศรีวิสารวาจา) แพทย์หญิงชาวไทยคนแรกที่ได้ปริญญาแพทยศาสตร์
ผู้หญิงสยามคนหนึ่งตัดสินใจเลือกศึกษาวิชาพิเศษเฉพาะทางที่ไม่สามารถหาเรียนได้ในเมืองไทยช่วงทศวรรษ 2460 อย่างวิชาแพทย์ ซึ่งยุคนั้นผู้สนใจศึกษาแขนงวิชานี้ต้องเดินทางไปร่ำเรียนในทวีปยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา มิหนำซ้ำ เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้ปริญญาแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยลอนดอนและย้อนกลับมาประกอบกิจการแพทย์ในประเทศไทย นามของเธอคือนางสาวมากาเร็ต ลิน เซเวียร์ หรือที่คนเรียกขานกันติดปากว่า ‘คุณหมอลิน’
ม.สงขลานครินทร์ เป็นแม่ข่ายจัดอบรม “การจัดการเรียนการสอนออนไลน์” ให้ครูอาชีวะในพื้นที่ภาคใต้
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผนึกกำลังสำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ร่วมพัฒนาทักษะด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์แก่ครูอาชีวศึกษาในเขตภาคใต้ เพื่อให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์และพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อการอาชีพแบบออนไลน์ โดยจัดอบรมรุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 25 - 29 พฤษภาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
สุขภาพดี เริ่มง่ายๆจากเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ก่อนกลืน
การเคี้ยวอาหาร ให้ละเอียดก่อนกลืนมีความสำคัญมาก เพราะถือว่าเป็นด่านแรกที่จะทำให้อาหารมีความละเอียดขึ้น ทำให้กระเพาะไม่ต้องทำงานหนักเกินไป ช่วยให้สารอาหารถูกดูดซึมเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ง่ายขึ้น และยังทำให้มีระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีเป็นปกติ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพที่ดี
ทักษะการสื่อสาร เพื่อการรับมือปัญหา”สุขภาพจิต”ของนักศึกษา
ปัจจุบันวัยรุ่นที่มีปัญหาสุขภาพจิตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี กลุ่มนักศึกษามีพฤติกรรมการฆ่าตัวตายเป็นอันดับต้นๆ ส่วนกลุ่มนักศึกษาที่มีปัญหาสุขภาพจิตในระดับที่ยังไม่ถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาหรือไม่รู้ว่าตนเองมีปัญหาสุขภาพจิตนั้นก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก ตัวบ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพจิตของเด็กวัยรุ่นที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ อัตราการฆ่าตัวตายของคนไทยนับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศต่าง ๆ ในโลกและกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-24 ปี นับเป็นกลุ่มที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ
เหล่ากาชาดจังหวัดสงขลา บริจาคเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์การแพทย์ แก่สถานบริการสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ร่วมต้าน COVID-19
วันนี้ (28 พ.ค. 63) ที่ห้องประชุมฑิฆัมพร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดสงขลา โดยนางกัญจนา เกลี้ยงเกลา นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยนายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา บริจาคเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ แก่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสงขลา จำนวน 15 แห่ง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,052,300 บาท
การติดเชื้อของระบบกระดูกและข้อ – พญ.นิสาลักษณ์ อุโพธิ์
โรคกระดูกอักเสบติดเชื้อ เป็นการอักเสบและติดเชื้อที่บริเวณกระดูก ไขกระดูก (Bone marrow) และกล้ามเนื้อที่อยู่โดยรอบ อาจเกิดจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิดทำงานบกพร่อง นอกจากนี้โรคที่มีความผิดปกติในกระบวนการสร้างและสลายกระดูกอื่นๆ