ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเห็ดร่างแห เห็ดร่างแห จัดอยู่ในสกุล Dictyophora วงศ์ Phallaceae ไฟลัมเบสิดิโอไมโคตา ชื่อสามัญไทย คือ เห็ดร่างแหยาว ร่างแหกระโปรงยาว ดางแหยาว จัดอยู่ในกลุ่มดอกเห็ดเขาเหม็น ในประเทศไทยพบเห็ดร่างแห 5 ชนิด คือ เห็ดร่างแหกระโปรงยาวสีขาว, เห็ดร่างแหกระโปรงสั้นสีขาว, เห็ดร่างแหเหลือง, เห็ดร่างแหส้ม, เห็ดร่างแหแดง
Life Balance: ชีวิตที่สมดุล
ชีวิตที่สมดุลของแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไป การจัดสรรชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี และไม่ว่าจะช่วงอายุเท่าไหร่ วัยไหน ก็ต้องหาเวลาพักแแล้วกลับมาใส่ใจดูแลสุขภาพ ลองเริ่มต้นการดูแลสุขภาพง่ายๆ ด้วย 3 อ. ส่งเสริมให้วัยมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี นั่นคือ อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์
สงขลา ได้รับการคัดเลือกเป็นเมืองไมซ์ซิตี้ ลำดับที่ 6 ก้าวสู่เมืองแห่งการจัดประชุมและนิทรรศนาการ
วันที่ 11 สิงหาคม 2563 สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการประเมินเมืองไมซ์ซิตี้ เพื่อรับรองผลการประเมินการเป็นเมืองไมซ์ซิตี้ประจำปี พ.ศ.2563 โดยจังหวัดสงขลา ได้ผ่านการเป็นเมืองไมซ์ซิตี้ ลำดับที่ 6 ของประเทศไทย
คณะวิทย์ฯ ม.อ. เผยข้อมูลและวิธีปฐมพยาบาลหากสัมผัส “แมงกะพรุนพิษ”
จากกรณีที่มีนักท่องเที่ยวได้รับบาดเจ็บจากการสัมผัสโดนแมงกะพรุนพิษขณะลงเล่นน้ำทะเลโดยเฉพาะในช่วงที่มีฝนตก ในโอกาสนี้ อ.ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ได้ให้ข้อมูลกับรายการแลบ้านแลเมือง ว่าแมงกะพรุนมีหลายชนิดทั้งมีพิษและไม่มีพิษ หากพบผู้ที่สงสัยถูกแมงกะพรุนพิษ ห้ามขัดถูบริเวณที่สัมผัส เพราะจะทำให้มีการยิงพิษเพิ่มขึ้น ให้ใช้วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการราดน้ำส้มสายชู
พบ ม.อ.วิชาการ 63 ในรูปแบบออนไลน์ 16 สิงหาคมนี้ ทาง PSUconnext
การจัดงาน ม.อ.วิชาการในหลายปีที่ผ่านมาจะเน้นใน 4 ด้าน คือด้านทุนมนุษย์ ให้มีการเรียนรู้ร่วมกันและพัฒนาตนเองในด้านใดด้านหนึ่ง ด้านทุนทางสังคม ให้คนในพื้นที่อยู่ดีกันดี ทำมาหากินได้เองโดยไม่ต้องพึ่งภาครัฐมากนัก ด้านทุนทางกายภาพ การมีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงซึ่งเป็นเรื่องที่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน และ ด้านข้อมูลที่ปัจจุบันหาได้จากหลากหลายช่องทางแต่ต้องใช้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูลเหล่านั้น โดยนำเสนอต่อสาธารณชนผ่านการจัดงานที่น่าสนใจหลายงานคือ งาน ม.อ.วิชาการ งานนิทรรศการตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ งานเกษตรภาคใต้ เป็นต้น
รำลึกถึง “ครูพิมพ์ปฏิภาณ” ผ่าน ผอ.หอประวัติมหาวิทยาลัย
อาจารย์มนัส กันตวิรุฒ ผู้อำนวยการหอประวัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เล่าในรายการ PSU All ถึงส่วนหนึ่งของความประทับใจต่อครูพิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล) ปี 2560 ที่ได้จากวงการเพลงไปเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2563 ในวัย 83 ปี ท่านเป็นชาวจังหวัดนราธิวาส ซึ่งนอกจากจะเป็นผู้สร้างผลงานในวงการบันเทิงมามากมาย จนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติระดับชาติแล้ว ยังเป็นผู้มีผลงานในการเรียบเรียงเสียงประสานเพลงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 20 เพลงในช่วงเวลาต่างๆ โดยบางเพลงท่านได้เป็นผู้ประพันธ์คำร้องทำนองด้วย
จากนโยบายสาธารณะ สู่ยุทธศาสตร์ความยั่งยืนของ “สงขลานครินทร์” และท้องถิ่นภาคใต้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาและหนทางสู่ความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยในอนาคตว่า ได้มีการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงโดยมองยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาภาคใต้ แล้วหากระบวนการเพื่อสร้างคน ความรู้ นวัตกรรมโดยอาศัยความคิดจากนักวิชาการแต่ละคณะและวิชาชีพในมหาวิทยาลัย ให้ทุกภาคส่วนมาช่วยกันกำหนดทิศทางและวิธีการที่เราจะเคลื่อนไปเพื่อให้เรายืนอยู่ได้ในพื้นที่ภาคใต้ซึ่งเป็นหนึ่งใน “นโยบายสาธารณะ” ของมหาวิทยาลัยและเป็นแนวทางพัฒนาประเทศให้สู่ความยั่งยืน
ออกแบบ “สุขภาพดี” ด้วยโภชนาการที่ “สมดุล”
ประเทศไทยขึ้นชื่อเรื่องอาหาร ในปี 2018 มีการรายงานจากสำนักข่าว CNN เกี่ยวกับร้านอาหารริมทาง หรือ Street Food ที่โด่งดังและมีรสชาติดีเยี่ยม มีร้านอาหารริมทางที่โด่งดังและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกต้องการมาลิ้มลองกันสักครั้ง อีกทั้งพบว่ามีการจัดอันดับและรีวิวโดยหลายสำนักข่าวของจีนเช่น Chinadaily และ JingDaily ชี้ว่า ร้านอาหารริมทางหรือ Street Food ของไทย ทั้งในกรุงเทพฯ และที่เชียงใหม่ พัทยา เป็นแหล่งดึงดูดที่ทำให้นักท่องเที่ยวจีนอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ต้มยำกุ้ง ส้มตำ ไข่เจียวปู ราดหน้า ผัดกระเพรา เป็นต้น ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีอาหารที่แสนจะอร่อยขนาดไหนก็ตาม ก็ต้องรับประทานแต่พอดี เพราะโภชนาการที่ดีและสมดุล จะช่วยเติมเต็มพลังงานให้ร่างกายทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และส่งเสริมสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์
เล่าขานงานวิจัย: อุปกรณ์หนุนสะโพกจากยางธรรมชาติ จาก ม.สงขลานครินทร์
นักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประกอบด้วย รศ.ดร.วิริยะ ทองเรือง รศ.ดร.เจริญยุทธ เดชวายุกุล รศ.ดร.นายแพทย์บุญสิน ตั้งตระกูลวนิช รศ.ดร.นายแพทย์วราห์ ยืนยงวิวัฒน์ โดยการสนับสนุนของสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) คิดค้นและพัฒนาอุปกรณ์หนุนสะโพก จากยางธรรมชาติ ประกอบด้วย แผ่นหนุนสะโพก และ ชุดหนุนสะโพกทำด้วยผ้ายืด ออกแบบเป็นเข็มขัดรัด สามารถลดแรงกระแทกต่ำกว่ามาตรฐานกำหนดได้ถึง ร้อยละ 37 มีความยืดหยุ่นสูง เพื่อสะดวกต่อทุกสถานที่ในการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถถอดและปรับได้ตามต้องการ ผลงานได้รับมาตรฐาน มอก.
Buddy News : ดูดาวกันเถอะ
ทุกๆ ครั้งที่เราแหงนมองดูท้องฟ้าในยามค่ำคืนที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งปราศจากเมฆหมอกมาบดบัง เราจะมองเห็นหมู่ดวงดาวน้อยใหญ่ส่องแสงแวววาวระยิบระยับอยู่เต็มฟากฟ้า ซึ่งทำให้ท้องฟ้าดูเหมือนมีชีวิตและเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข เบิกบาน อบอุ่น และคลายความทุกข์กังวลได้อย่างที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อน การดูดาวเนี่ยมีประโยชน์มาตั้งแต่อดีตกาลแล้วนะคะ เพราะมนุษย์ใช้ประโยชน์จากการดูดาวมาตั้งแต่ครั้งอดีตกาลโดยสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาทดแทนจนเราอาจมองไม่เห็นความสำคัญของดวงดาวอีกต่อไป แต่แท้จริงแล้วดวงดาวยังมีความลึกลับให้ศึกษาค้นคว้าอีกมากมาย