สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมกับ มูลนิธิชุมชนสงขลา (SCF) ศูนย์วิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติภาคใต้ คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน(กขป.)เขต 12 และมูลนิธิเครือข่ายเมืองภาคใต้เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SCCCRN) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “เมือง(ไม่)รู้ร้อนรู้หนาว ภาคใต้ เพื่อเตรียมความพร้อมของชุมชนเมืองต่อภาวะโลกเดือด” เมื่อวันที่ 28-29 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมเบญจพร แกรนด์...
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์จัดอบรม รับมือเหตุกราดยิง หวังเป็นองค์ความรู้บุคลากร-ประชาชน เหตุไม่คาดฝัน
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จัดอบรมทฤษฎีและอบรมเชิงปฏิบัติการ รับมือเหตุกราดยิง หวังเป็นองค์ความรู้บุคลากรและประชาชนทั่วไปเพื่อรับมือเหตุฉุกเฉิน ในวันที่ 3 และ 5 เมษายน 2567 รศ.ดร.แพทย์หญิง มณฑิรา ตัณฑนุช รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ให้สัมภาษณ์ในรายการ ‘แลบ้าน แลเมือง’ วานนี้ (1 เมษายน...
ฝุ่น PM2.5 หาดใหญ่เกินมาตรฐานจับตาเอลนีโญ เสี่ยงไฟป่าภาคใต้-อาเซียน
ฝุ่น PM2.5 หาดใหญ่เกินมาตรฐาน WHO นักวิจัยชี้เฝ้าระวังผลเอลนีโญ เสี่ยงไฟป่าภาคใต้-ภูมิภาคอาเซียน
นักวิชาการ ม.อ. เตือนภัยทะเลสงขลาเจอแมงกะพรุนหัวขวดมากขึ้น แนะเที่ยวทะเลต้องพกน้ำส้มสายชู
ข้อมูลจากเฟซบุกแฟนเพจ 'กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง' ระบุการสำรวจพบแมงกะพรุนหัวขวดหรือบางคนเรียกแมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส หรือแมงกะพรุนไฟเรือรบ เป็นแมงกะพรุนพิษในสกุล Physalia ในทุกจังหวัดชายฝั่งทะเล และเริ่มพบบ่อยในจังหวัดสงขลา ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ดร.ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง ศูนย์เรียนรู้วิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ให้สัมภาษณ์ในรายการแลบ้านแลเมืองสถานีวิทยุ ม.อ.หาดใหญ่ PSUBroadcast พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าทะเลไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามันเจอแมงกะพรุนชนิดนี้บ่อยขึ้น อาจเป็นเพราะการเพิ่มขึ้นไฟโตแพลงตอนก์อาหารของของแมงกะพรุน ส่วนประเด็นภาวะโลกรวนนั้นยังไม่มีข้อชี้ชัดชัดเจนว่ามีผลตรงกับจำนวนแมงกะพรุนอย่างไร
เทศบาลคอหงส์ หารือ ม.อ. ขยายผลตลาดเกษตรอินทรีย์ หวังขับเคลื่อนเมืองสุขภาพ-อาหารปลอดภัย
วานนี้ (6 มีนาคม 2567) เวลา 15:00 น. ณ ห้องประชุมตลาดเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รศ.ดร.วศิน สุวรรณรัตน์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, ผศ.ดร.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและบริการวิชาการ, รศ.ดร.ไชยวรรณ วัฒนจันทร์...
แผ่นแปะจากสารสกัดบัวบกรักษาแผลในปาก ติดง่าย หายเร็ว
สรรพคุณของใบบัวบกถือเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น สามารถเติมธาตุเย็นให้กับร่างกาย พร้อมฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ช่วยสมานแผลให้หายเร็ว ด้วยคุณสมบัติเด่นนี้ทำให้ ภก.ธงธรรม สุขสวัสดิ์ นักวิจัยสาขาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ภก.สรวิชญ์ เชาวน์ณัฐเศวตกุล กรรมการผู้จัดการบริษัทเฮอร์บาเชียเท็กซ์ จำกัด ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของทีมโครงการสกัดสารสำคัญในใบบัวบกได้ต่อยอดจากความสำเร็จในการสกัดสารสำคัญได้ปริมาณมากเป็นแผ่นแปะรักษาแผลในปากซึ่งตอบโจทย์การใช้งานมากกว่าขึ้ผึ้งรักษาแผลในปากที่มีข้อจำกัดหลายประการ
นักศึกษานิติศาสตร์ ม.อ. ตั้งโต๊ะล่ารายชื่อ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน ไม่แบ่งสี-ฝ่าย หวังสังคมให้โอกาสคนเห็นต่าง
วันนี้ (13 ก.พ. 2567) เวลา 17:00 น. ที่ลานถนนคนเดินนักศึกษา ม.อ. หรือ PSU-Bizmall นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ในฐานะตัวแทนจากกลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชนภาคใต้ (Law Long Beach) ตั้งโต๊ะล่ารายชื่อประชาชน เพื่อเสนอกฎหมายร่างพระราชบัญญัติ...
ม.อ. จับมือภาครัฐ-เอกชนแสดงเทคโนโลยี นวัตกรรมต่อยอดโอกาสเรียนรู้ ยกระดับเศรษฐกิจภาคใต้
บรรยากาศวันแรกของงาน SITE2024 - Southern Innovation and Technology Expo ที่รวบรวมเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมโครงงานวิจัยกว่า 200 โครงงาน พร้อมช่องทางเพิ่มโอกาสขยายธุรกิจ และพบกับผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนกว่า 350 ราย ระหว่างวันที่ 1-4 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
“น้ำมันไบโอดีเซลจากจุลินทรีย์ไขมันสูง” ผลพลอยได้จากสิ่งเหลือทิ้งโรงงานปาล์ม ผลงานชิ้นเยี่ยมของ”นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ”คนล่าสุดของ ม.สงขลานครินทร์
ศ.ดร.เบญจมาส เชียรศิลป์ อาจารย์ประจำคณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.สงขลานครินทร์ อดีตนักเรียนทุนวิทยาศาสตร์ที่ชอบเรียนฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เลือกเรียนสาขาวิศวกรรมเคมีเพราะไม่ต้องการทิ้งศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งที่ชอบ และต่อปริญญาเอกเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพสนใจการใช้จุลินทรีย์เพื่อจัดการของเสียหรือวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานปาล์มซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของภาคใต้ ความสนใจและความเชี่ยวชาญของอาจารย์เบญจมาสกลายเป็นงานวิจัยการใช้ประโยชน์จากน้ำทิ้งจากโรงงานปาล์มซึ่งยังมีสารอาหารที่สามารถเลี้ยงจุลินทรีย์ได้ โดยแต่เดิมอาจใช้ประโยชน์เพียงแค่การทำไบโอแก๊ส อาจารย์เบญจมาสใช้น้ำทิ้งจากโรงงานเลี้ยงยีสต์ไขมันสูงแล้วนำยีสต์ไปสกัดน้ำมันไบโอดีเซล หลังจากนั้นได้เกิดการใช้ประโยชน์จากน้ำทิ้งเพื่อเลี้ยงยีสต์ไขมันกันอย่างแพร่หลาย
หลักสูตรการจัดการระบบกิจการฮาลาล ม.อ.(Non Degree) รับสมัครนักเรียน จบแล้วเพิ่มโอกาสทำงาน ยกระดับการเรียนรู้ระบบกิจการฮาลาลครบวงจร มุ่งสู่ผู้เชี่ยวชาญการจัดการระบบฮาลาล
สถาบันฮาลาล ม.สงขลานครินทร์ เปิดหลักสูตร Non Degree เรียนรู้การจัดการระบบกิจการฮาลาลโดยแบ่งการเรียนการสอนเป็น 2 รูปแบบได้แก่ ภาคทฤษฎีเรียน ณ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ระยะเวลา 2 เดือน ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้ภาคปฏิบัติสถาบันฮาลาล ม.อ. และภาคปฏิบัติ ณ สำนักงานคณะกรรมการอิสลาม จังหวัดสมุทรปราการอีก 1 เดือนรวมระยะเวลาทั้งสิ้น 3 เดือน