ช่วงค่ำวันที่ 28 เมษายน 2563 จะเกิดปรากฎการณ์ดาวศุกร์สว่างที่สุด ช่วงเวลาประมาณ 18:30 น. เป็นต้นไป วันดังกล่าวจะสังเกตเห็นดาวศุกร์สว่างสุกใสอยู่ทางทิศตะวันตก สามารถดูได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจนทั่วประเทศ และหากสังเกตผ่านกล้องโทรทรรศน์ดาวศุกร์จะปรากฏเป็นเสี้ยวคล้ายดวงจันทร์
รวมพลังคนไทย ฝ่าวิกฤตโควิด 19 พร้อมเปิดตัว “กลุ่มช่วยกัน ” แอปหมอชนะ ” ชุดตรวจ PSU COVID-19 Rapid Test
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ “กลุ่มช่วยกัน” แถลงข่าวการรวมพลังคนไทย ฝ่าวิกฤตโควิด 19 พร้อมเปิดตัว “กลุ่มช่วยกัน” “แอปหมอชนะ” และ “ชุดตรวจประสิทธิภาพสูง PSU COVID-19 Rapid Test” เพื่อขับเคลื่อนแผนแบบบูรณาการ ป้องกัน ควบคุม เยียวยา ช่วยฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยมีจังหวัดฉะเชิงเทรานำร่อง ก่อนขยายไปในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการขยายผลต่อไปยัง 14 จังหวัดภาคใต้ต่อไป
ม.อ.เปิดชุดตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 (PSU COVID-19 Rapid Test)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พัฒนาชุดทดสอบเพื่อตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยทีมงานนักวิจัยคณะเทคนิคการแพทย์ และคณะเภสัชศาสตร์ ประกอบด้วย ดร.จิดาภา เซคเคย์ ดร.ปิยะวุฒิ แสวงผล ดร.ณัฏฐาภรณ์ ณ นคร ดร.ธีรภัทร นวลน้อย และ ดร.ปวีณา วงศ์วิทย์วิโชติ โดย ผศ.ดร.ธีรกมล เพ็งสกุล จากคณะเทคนิคการแพทย์เป็นหัวหน้าโครงการ ชุดตรวจดังกล่าวจะใช้เวลาตรวจประมาณ 15-20 นาที สามารถวินิจฉัยคัดกรองการติดเชื้อเบื้องต้นได้
นวัตกรรมไม่ได้เป็นแค่สิ่งประดิษฐ์แต่มีส่วนช่วยเสริมให้ศิลปวัฒนธรรมเข้าสู่ใจวัยรุ่น
“เราต้องบูรณาการงานศิลปวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้ได้ หากมหาวิทยาลัยมีการดำเนินงานเรื่องศิลปวัฒนธรรมมาก แต่เก็บข้อมูลโดยไม่ได้มีฐานข้อมูลที่ทันสมัย ไม่มีการจัดเก็บในสื่อออนไลน์ หรือใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ เราก็จะไม่สามารถนำศิลปวัฒนธรรมเข้าสู่ความสนใจของกลุ่มนักศึกษา กลุ่มวัยรุ่นได้”
นักวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ผลิตแผ่นกรองเส้นใยนาโน คุณภาพใกล้เคียง N95
ทีมนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้นำโจทย์งานวิจัยการผลิตเส้นใยนาโนด้วยเทคนิคอิเล็กโทรสปินนิง หรือ การปั่นเส้นใยจากพอลิเมอร์ ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ขนาดนาโนเมตรจนถึงไมโครเมตร จากสารละลายพอลิเมอร์ หรือพอลิเมอร์หลอมเหลว มาพัฒนาเป็นแผ่นกรองเส้นใยเพิ่มประสิทธิภาพหน้ากากผ้าคุณภาพใกล้เคียง N95 (Sci-Mask Filter) และมีราคาถูกกว่าท้องตลาด 2-3 เท่า
สภากาชาดไทย มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้กับโรงพยาบาล 5 จังหวัดภาคใต้
โครงการคาราวานอาสาร่วมใจสู้ภัยโควิด-19 เป็นความร่วมมือกันระหว่างสภากาชาดไทย กับมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ที่ร่วมกันดำเนินการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น หน้ากากอนามัย N95 ชุดป้องกัน PPE เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ดิจิทัล 2 เครื่อง เพื่อใช้ในโรงพยาบาลสนาม น้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ส่งมอบให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ
PSUB Update ยอดเงินบริจาคช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในพื้นที่ จ.สงขลา
วันนี้ (24 เมษายน 2563) ยอดเงินบริจาคช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในพื้นที่ จ.สงขลา ผ่านทางสถานีวิทยุ ม.อ.หาดใหญ่ ยอดเงินอยู่ที่ 30,119 บาท
ม.อ.ปรับยุทธศาสตร์รับสถานการณ์ในอนาคตหลังวิกฤติ COVID-19
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้นำเสนอการดำเนินงานของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้สถานการณ์การระบาดของ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ต่อที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์นัดพิเศษ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2563 ซึ่งเป็นการประชุมทางไกลโดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธาน
คณะวิทย์ ม.อ. พบ 50 ตัวอย่าง เจลและสเปรย์แอลกอฮอล์ไม่ได้มาตรฐาน และเป็นอันตราย
จากวิกฤติโควิด-19 คณาจารย์และนักศึกษาศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านการวิเคราะห์สารปริมาณน้อยและไบโอเซนเซอร์ (TAB–CoE) ร่วมกับ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ทดสอบแอลกอฮอล์เพื่อตรวจสอบหาเมทานอล ในแอลกอฮอล์ชนิดเจลและชนิดสเปรย์ ที่นำมาเพื่อลดความเสี่ยงโควิด-19 ด้วยเทคนิคเฮดสเปซแก๊สโครมาโทกราฟีที่มีตัวตรวจวัดชนิดเฟลมไอออไนเซชัน (HS-GC-FID) โดยวิเคราะห์เชิงคุณภาพเพื่อจำแนกชนิดของแอลกอฮอล์ที่ใช้ในการผลิตที่อาศัยการเทียบค่ารีเทนชันไทม์กับสารละลายมาตรฐานของเมทานอล (MeOH) เอทานอล (EtOH) และไอโซโพรพานอล (IPA) ตรวจพบร้อยละ 10 ของเจลแอลกอฮอล์ที่นำมาทดสอบเป็นอันตราย เตือนผู้บริโภค ตรวจสอบก่อนใช้
นักวิชาการ ม.อ.ปัตตานี เผยผลการสำรวจ พบประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้รับทราบมาตรการและให้ความร่วมมือในการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโควิด19
คณะนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สำรวจประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อผลกระทบในการใช้มาตรการต่างๆ ในการเฝ้าระวังโรคโควิด 19 พบว่าประชาชน รับทราบมาตรการต่างๆของภาครัฐเป็นอย่างดี มีส่วนน้อยที่ได้รับผลกระทบในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยกลับมีสุขภาพจิตดีกว่า และส่วนใหญ่เห็นว่าควรขยายเวลาใช้มาตรการออกไปอีก 1 เดือน