การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย อัปเดตการปรับมาตรการ Test & Go เปิดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร โดยนำร่องช่องทางด่านทางบก คือ จังหวัดหนองคาย อุดรธานี และสงขลา โดยเริ่มให้มีการลงทะเบียน ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.2565 เพื่อเดินทางถึงประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 7 มี.ค.2565 เป็นต้นไป
เนื่องจากไวรัสปรับตัวเร็วมีหลายสายพันธุ์ ถ้าใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ ฟุ่มเฟือย โดยไม่มีข้อบ่งชี้อาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยา ทำให้ไม่มียารักษาผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการรุนแรง จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตมากขึ้นได้ นอกจากนี้ มีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ เมื่อรับประทานร่วมกับยาบางชนิด รวมทั้งมีผลต่อการทำงานของตับ ดังนั้นไม่ควรกิน ร่วมกับยาฟ้าทะลายโจร หรือ ยาที่มีผลต่อตับ ยาฟาวิพิราเวียร์ จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ที่ต้องสั่งจ่ายและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ จำเป็นต้องติดตามอาการข้างเคียง และผลการรักษาระหว่างการใช้ยา การใช้ยาในผู้ป่วยบางกลุ่มจำเป็นต้องคำนึงถึงประโยชน์ และความเสี่ยงจากผลข้างเคียงที่จะตามมาโดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในปัจจุบันจังหวัดสงขลามียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทำให้จำนวนเตียงของโรงพยาบาลไม่เพียงต่อต่อผู้ป่วย รวมถึงผู้ติดเชื้อบางส่วนที่แยกกักตัวที่บ้าน หรือ Home Isolation ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ศูนย์อาสาสมัคร ม.อ. จึงมีบทบาทในด้านการเชื่อมโยงระหว่างอาสาสมัครในพื้นที่ บุคลากรทางการแพทย์ และกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด-19 แบ่งออกเป็นหลายส่วน เช่น ทีมจัดเตรียม Box set และยาต้านไวรัส (Favipiravir 200mg) เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ป่วยกลุ่ม HI ในเครือข่ายโรงพยาบาลหาดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา, ทีม Call center ซักประวัติ ข้อมูลส่วนตัว ให้คำแนะนำแก่ผู้ติดเชื้อโควิด-19 และทีมไรเดอร์หรือกลุ่ม ONE Chat สำหรับการส่งอาหารและส่งยาให้แก่ผู้ป่วยกลุ่ม HI เป็นต้น โดยอาสาสมัครทุกคนจะรับความรู้การอบรมเบื้องต้นจากบุคคลากรจากโรงพยาบาลก่อนปฏิบัติงานทุกครั้ง
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดตั้งศูนย์พักคอยศูนย์โรงช้างม.อ. เพื่อเป็นสถานที่รองรับนักศึกษาม.อ. ที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการหรือมีอาการเล็กน้อย (ผู้ป่วยโซนสีเขียว) ภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อีกทั้งเพื่อเป็นการแบ่งเบาการดูแลผู้ติดโควิด19 ของศูนย์กักตัวอื่นๆในพื้นที่จังหวัดสงขลา
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ลองโควิด (Long COVID) หรือ Post COVID-19 Syndrome คือ ภาวะของคนที่หายจากโควิด-19 แล้วแต่ยังต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่ ซึ่งอาการลองโควิดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30 – 50 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว โดยเฉพาะ ผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรง ดังนั้น ผู้ป่วยลองโควิด-19 ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของตนเองอยู่เสมอ ด้วยการกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด เน้นอาหารย่อยง่าย เนื่องจากอาจมีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร และหากมีอาการเบื่ออาหาร ควรแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย ๆ หลาย ๆ มื้อ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ตลอดวัน ไม่ให้ร่างกายอ่อนล้า อ่อนเพลีย และควรเลือกกินอาหารที่มีโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม เนยแข็ง ถั่วต่าง ๆ เต้าหู้ รวมทั้งบริโภคอาหารที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ หรือโพรไบโอติกส์ (Probiotics)
ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่าในปี 2560 มี “ขยะอาหาร” คิดเป็นร้อยละ 64 ของปริมาณทั้งหมด หรือ 254 กิโลกรัมต่อคนต่อปี แต่ไทยมีการนำขยะอาหารไปใช้ประโยชน์น้อยมาก ส่วนมากไม่มีการแยกขยะ และในส่วนของ กทม. สามารถ รีไซเคิล ขยะอาหารได้เพียง 2 % เท่านั้น
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หนุนการใช้แนวทางใหม่สำหรับการได้รับวุฒิปริญญาโท-เอก ด้วยการผลิตผลงานนวัตกรรมที่สามารถนำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ได้ในเชิงพาณิชย์ สังคมหรือเชิงเศรษฐกิจ ขอสำเร็จการศึกษาทดแทนผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ อีกทั้ง 25 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศเห็นชอบกับแนวทางดังกล่าวหวังพัฒนาศักยภาพบัณฑิตอย่างมีประสิทธิภาพ
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า หลังจากมีกระแสในการกิน “ปลาหมึกชอต” คือการนำปลาหมึกตัวเล็ก สด ๆ เอาหัวจุ่มลงไปในแก้วที่บรรจุน้ำจิ้ม เพื่อให้หมึกดูดเอาน้ำจิ้มซีฟู้ดเข้าตัว จากนั้นกินปลาหมึกโดยกัดส่วนหัว แล้วค่อยกัดหรือหั่นส่วนลำตัวกินต่อ หรือหากปลาหมึกตัวเล็กพอ ก็อาจจะเอาเข้าปากกินทั้งตัวนั้น ซึ่งพฤติกรรมการกินดังกล่าวอาจจะเสี่ยงได้รับเชื้ออหิวาต์เทียม หรือ Vibrio parahaemolyticus ที่เป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ตามโคลนตมในทะเลหรือตามชายฝั่งต่าง ๆ เมื่อกินสัตว์ทะเลที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป ก็จะทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย มีอาการอาหารเป็นพิษ หากรุนแรงมาก ๆ ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบได้อีกด้วย นอกจากเชื้อแบคทีเรียแล้ว ปลาหมึกหรือสัตว์ทะเลอื่น ๆ เช่น กุ้ง หรือหอย ก็อาจจะมีพยาธิอาศัยอยู่ด้วยไม่ว่าจะเป็นพยาธิตัวกลม ในกลุ่มพยาธิอะนิซาคิส (Anisakis spp.) พยาธิตัวตืดในกลุ่มพยาธิตืดปลา (Diphyllobothrium) เป็นพยาธิที่พบในปลาทะเลเขตอบอุ่น และเขตร้อน
จากกรณีที่มีคลิปไวรัล ซึ่งถูกเผยแพร่โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งในพิธีเปิดงานที่จัดโดยข้าราชการหน่วยงานหนึ่ง โดยหลังฉากเวทีมีเจ้าหน้าที่ผู้หญิง เตรียมพร้อมที่จะ ฉีดถังดับเพลิง หลังเปิดงานที่ประธานกล่าวจบ โดยได้พ่นจากทั้งสองฝั่งของเวทีส่งผลให้ภายในพิธีเต็มไปด้วยควันของถังดับเพลิง ซึ่งผู้โพสต์ระบุว่า เป็นถัง CO2 หรือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก่อนเข้ารับการฉีด หากเด็กมีอาการป่วย มีไข้ ร่างกายอ่อนเพลีย ควรรักษาอาการให้หายจนกว่าจะเป็นปกติ สำหรับเด็กที่มีโรคประจำตัวรุนแรง อาการยังไม่คงที่ อาจมีอันตรายถึงชีวิตควรเข้ารับการประเมินอาการจากแพทย์ประจำตัวก่อนเข้ารับการฉีด ส่วนอาการที่พบได้หลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์ คือ ปวด บวม แดง เฉพาะที่ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เป็นไข้ จึงจำเป็นต้องสังเกตอาการหลังการฉีดอย่างน้อย 30 นาที ในสถานที่ฉีดวัคซีนด้วยเสมอ และอาการดังกล่าว สามารถหายได้เองเมื่อรับประทานยาลดไข้และพักผ่อนให้เพียงพอ หลังฉีดวัคซีน 1 สัปดาห์ ผู้ปกครองควรดูแลไม่ให้บุตรหลานออกกำลังกาย ปีนป่าย ว่ายน้ำ หรือกิจกรรมที่ใช้แรงมาก เป็นระยะเวลา 7 วัน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และหากเกิดอาการรุนแรงหลังรับวัคซีน ได้แก่ เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว เหนื่อยง่าย ใจสั่น ไข้สูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส ปวดหัวรุนแรง อาเจียนทานอาหารไม่ได้หรือซึมไม่รู้สึกตัว ควรพบแพทย์ทันที หรือโทร 1669 เพื่อรับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งในแต่ละพื้นที่ได้เตรียมความพร้อมของบุคลากรทางการแพทย์และกุมารแพทย์ในการตรวจวินิจฉัย รักษาและการติดตามผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีน จึงขอให้ผู้ปกครองมั่นใจในเรื่องของความปลอดภัย ตามนโยบายการฉีดวัคซีนให้เด็กถ้วนหน้าให้ดีที่สุด ที่ยึดประโยชน์ของผู้ปกครองและประชาชนไทยทุกคนเป็นสำคัญ