ดร.พท.จุฬาลักษณ์ โชคไพศาล ผู้ช่วยคณบดีโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย ม.สงขลานครินทร์ กล่าวว่า คลินิกกัญชาและกระท่อมทางการแพทย์แผนไทย ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดบริการให้คำปรึกษาเฉพาะทางด้านการแพทย์แผนไทย ร่วมกับการใช้ตำรับยาจากกัญชาและกระท่อม โดยแพทย์แผนไทยผู้เชี่ยวชาญในการรักษาผู้ป่วย 5 กลุ่มโรคเบื้องต้น ได้แก่ ไมเกรน ผิวหนัง นอนไม่หลับ Post-COVID และโรคอื่นตามการวินิจฉัยทางการแพทย์แผนไทย เบื้องต้นคลินิกฯ ได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในสนับสนุนผลิตภัณฑ์น้ำมันกัญชาเพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วย ซึ่งน้ำมันกัญชามีสรรพคุณแก้ปวดเรื้อรังและอาการนอนไม่หลับสะสม
คณะทรัพย์ ม.อ. ร่วมขับเคลื่อนโครงการเมืองปศุสัตว์ฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้กรอบระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามนโยบายของรัฐบาล
ผศ.ดร.ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.สงขลานครินทร์ กล่าวว่า ตามมติของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 มอบหมายให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนโครงการเมืองปศุสัตว์ฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ และคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” เป็นหน่วยงานร่วมในการสนับสนุน
นักวิจัยสถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหาร ม.สงขลานครินทร์ พัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าว 12 สายพันธุ์ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคใต้ยกระดับข้าวท้องถิ่นด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
ผศ.ดร.ปุณณาณี สัมภวะผล รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (หน่วยงานภายใต้สังกัดสำนักวิจัยและพัฒนา ม.อ.) กล่าวว่า สถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตรและคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับงบสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม หรือ สป.อว. เพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าว12 สายพันธุ์ ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคใต้ โดยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาบูรณาการกับข้อมูลของพื้นที่เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค อีกทั้งภาคใต้มีข้าวท้องถิ่นที่หลากหลาย ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือข้าว GI (Geographical Indication) และข้าวท้องถิ่นที่ยังรอการลงทะเบียน GI แต่พบได้มากในท้องถิ่น
สถาบันยาง ม.อ จัด Mini Exhibition โชว์ผลงานเด่นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากยาง
สถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำนวัตกรรมที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นของนักวิชาการมหาวิทยาลัยออกแสดงในรูปแบบ mini exhibition ที่ชั้น 9 อาคาร 2 ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงอรรถกระวีสุนทร ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2564 - 31 มกราคม 2565 ซึ่งหลายชิ้นได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนและนำเข้าสู่เชิงพาณิชย์ เช่น ผลิตภัณฑ์ยางปูพื้น วัสดุจักสานจากยางธรรมชาติ แผ่นหนังเทียมจากยางพารา กระเป๋า ถุงมือยางที่ผสมสารที่สามารถกำจัดเชื้อโควิดได้
มหกรรมจิตอาสาภาคใต้ครั้งที่ 4 : มหาวิทยาลัยสู่ชุมชนฝ่าวิกฤติโควิด พัฒนาอาสาสมัครเพื่อสังคมและการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
วันนี้ (24 ธันวาคม 2564) ศูนย์อาสาสมัคร ม.อ. จัดมหกรรมจิตอาสาภาคใต้ครั้งที่ 4 : มหาวิทยาลัยสู่ชุมชนฝ่าวิกฤติโควิด รูปแบบออนไลน์ สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเป็นส่วนหนึ่งในการตอบสนองนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในการขับเคลื่อนโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T) มุ่งเน้นที่การฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับชุมชน ทั้งการสร้างงาน การพัฒนาอาชีพในชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมมือ ม.สงขลานครินทร์ จัดตั้งศูนย์ตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในภาคใต้ รองรับการตรวจทุกสายพันธุ์
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการการจัดตั้งศูนย์ตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในภาคใต้ Center for Emerging SARS-CoV-2 Lineage Investigation in Southern Thailand (CESLIST) หวังพัฒนาขีดความสามารถในการวิเคราะห์วิจัยสายพันธุ์เชื้อโควิด-19 ในภาคใต้ โดยวางเป้าในการสุ่มตรวจตัวอย่างเดือนละ 300 ตัวอย่าง
ภาษา การสื่อสารและการอยู่ร่วมในสังคม ยังจำเป็นสำหรับทักษะการตลาดดิจิทัลในโลกอนาคต
นักการตลาดในโลกดิจิทัลจะต้องพัฒนาเพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงทั้งเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรศักดิ์ จินดาบถ ได้พูดถึงทักษะ 7 ด้าน หรือ 7S ที่นักการตลาดต้องมีในอนาคต ซึ่งประกอบด้วย 1. Story telling นักการตลาดต้องมีการพัฒนาการสื่อสารเบื้องต้น มีความเข้าใจกาลเทศะและความเหมาะสมของภาษาที่ใช้ รวมทั้งมีวิธีการเริ่มต้นเล่าเรื่องที่น่าสนใจ 2. Synchronizing แม้ในโลกอนาคตคนจะมีโลกส่วนตัวมากขึ้น แต่การทำงานเป็นทีมยังจำเป็น ดังนั้นการทำความเข้าใจในอันลักษณ์และความแตกต่างของเพื่อนร่วมงานจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้งานเกิดผลสำเร็จ 3.Synthesizing การสังเคราะห์ข้อมูล ซึ่งแม้ว่าเครื่องมือต่างๆ จะทำให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ข้อมูลมากขึ้น แต่การนำข้อมูลไปใช้จะต้องมีการสังเคราะห์ ซึ่งผู้ที่สามารถแปลความ รวบรวมความ และสังเคราะห์ข้อมูลได้ดีที่สุดคือผู้ชนะ
นักวิชาการ ม.อ. จับมือนักวิจัยนานาชาติวิเคราะห์สูตรอาหารที่มีประสิทธิภาพสำหรับการจัดการน้ำหนักตัวสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคเบาหวาน และอาจเกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของฮอร์โมนในลำไส้ การอักเสบในระดับต่ำ รวมไปถึงเมแทบอลิซึมจากจุลินทรีย์ในลำไส้ ผู้ที่มีความเสี่ยงมักจะมีรอบเอวที่ใหญ่และมีไขมันสะสมในตับ ตับอ่อนและกล้ามเนื้อ ทำให้การทำงานของอวัยวะบกพร่อง ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติจนกลายเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ดังนั้นการลดน้ำหนักตัวจึงมีความสำคัญต่อการดูแลรักษาโรคเบาหวานชนิดนี้ เนื่องจากจะสามารถขจัดไขมันที่ผิดปกติออกจากตับและตับอ่อน และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เกณฑ์ปกติ นอกจากนี้ยังช่วยบันเทาโรคความดันโลหิตสูง รวมถึงช่วยลดความจำเป็นในการใช้ยาสำหรับผู้ป่วย
โรงงานผลิตน้ำมันหอมระเหยเพื่อสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ เพิ่มมูลค่าสมุนไพรและสร้างรายได้แก่เกษตรกร
โรงงานผลิตน้ำมันหอมระเหยเพื่อสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของโครงการศูนย์นวัตกรรมน้ำมันหอมระเหยเพื่อสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยการนำสมุนไพรจากเกษตรกรที่ได้รับส่งเสริมและพัฒนาการปลูกสมุนไพรใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาแปรรูปเป็นสารสกัดน้ำมันหอมระเหยพร้อมจำหน่ายให้แก่ภาคเอกชน อนาคตหวังพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าพรีเมี่ยม น้ำมันนวดไพล สคลับไพล สเปรย์ตะไคร้หอมกันยุง เป็นต้น
ม.อ. พร้อมรับมือและเป็นศูนย์ช่วยเหลือชุมชนหากเกิดอุทกภัยในพื้นที่
ช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม ของทุกปีภาคใต้มักได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกฉียงเหนือ ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม ซึ่งหลายปีที่ผ่านมาก็ได้เกิดอุทกภัยขึ้นในพื้นที่ของหลายจังหวัดของภาคใต้และมหาวิทยาลัยได้เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมขึ้นในหลายวิทยาเขต