กรมอุตุนิยมวิทยา จัดโครงการ “ก้าวสู่เทคโนโลยีดิจิทัลกับการใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา เพื่อพัฒนาอาชีพและสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรม” เดินหน้าสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพอากาศ และปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน

เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2565 ที่วัดท่าหิน ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ (ดีอีเอส) เปิดโครงการ “ก้าวสู่เทคโนโลยีดิจิทัลกับการใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเพื่อพัฒนาอาชีพและสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรม” โดยมี นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย ดร.ชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา คณะผู้บริหารหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดสงขลา และในสังกัดของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนเกษตรกร ชาวประมงในพื้นที่จังหวัดสงขลาร่วมการเปิดงานในครั้งนี้

อ่านต่อ →

ม.อ.พัฒนาแอปพลิเคชั่น “PrapaGO” E-Smart Service บริหารงานประปาท้องถิ่น ลดขั้นตอนการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บค่าน้ำ

สำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพันธกิจสังคม ม.สงขลานครินทร์ พัฒนาแอปพลิเคชั่น PrapaGO เพื่อช่วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริหารงานประปาไม่ว่าจะเป็นจดหน่วยค่าน้ำ การจ่ายบิล ฐานข้อมูลผู้ใช้น้ำ และการจ่ายค่าน้ำของผู้ใช้น้ำ โดย รศ.ดร.มิตรชัย  จงเชี่ยวชำนาญ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพันธกิจสังคม เล่าความเป็นมาของการพัฒนาแอปพลิเคชั่น “PrapaGO” ว่า คือ E-Smart Service งานภาคบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน อำนวยความสะดวกในด้านบริการ การแจ้งค่าน้ำ เก็บค่าน้ำหรือการแจ้งบิลค่าน้ำตามบ้านเรือน

อ่านต่อ →

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พัฒนา “อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม” นวัตกรรมจากการบูรณาการศาสตร์การแพทย์ กับมาตรฐานตอยยีบัน เสริมความมั่นใจสำหรับผู้นับถือศาสนาอิสลาม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่าผู้ป่วยมุสลิมหลายท่านมีความกังวลจากการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์บางชนิด เนื่องจากไม่มั่นใจในองค์ประกอบที่อาจขัดต่อการทำศาสนกิจ จึงเป็นแนวคิดที่จะสร้างมาตรฐานอุปกรณ์รวมทั้งองค์ประกอบที่ให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจและผ่านการรับรองมาตรฐานฮาลาล โดยมีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดกรองผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่จะใช้กับผู้ป่วย โดยใช้เวลาหลายปีในการพัฒนา “อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม” จนสามารถเป็นตัวอย่างให้กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น เครื่องมือแพทย์ อาหารทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร

อ่านต่อ →

สงขลานครินทร์ เปิดตัว ไก่เบขลา ลดเวลาการเลี้ยงจาก 6 เดือน เหลือ 3.5 เดือน ในเทศกาล “ไก่เบขลา” ครั้งที่ 1

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดตัว ไก่เบขลา ส่งเสริมเกษตรกรลดเวลาการเลี้ยงจาก 6 เดือน เหลือ 3.5 เดือน ในเทศกาล  “ไก่เบขลา” “จากเบตงสู่สงขลา … กำเนิดใหม่แห่งไก่เบตง” ในงานเกษตรภาคใต้ ครั้งที่ 28 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2565 ณ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  โดย ผศ.ดร.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและบริการวิชาการ เป็นประธานเปิดงาน   รศ.ดร.ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ กล่าวรายงาน  และนำเสนอผลงานวิจัยและโอกาสทางธุรกิจในการเลี้ยง ไก่เบขลา” แบบครบวงจร

อ่านต่อ →

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดโครงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการฟาร์มและสร้างความเป็นอัตลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดโครงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการฟาร์มและสร้างความเป็นอัตลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน เพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนอย่างเป็นระบบ โดยมีการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อส่งเสริมมเสริมมาตรฐานการผลิตและสร้างอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน พร้อมทั้งสนับสนุนให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีความรู้ด้านการตลาดและมีรายได้เพิ่ม ในปีงบประมาณนี้ทางโครงการฯ ได้พัฒนาไป 6 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน 14 ผลิตภัณฑ์ 28 SKU เพื่อเป็นการพัฒนายกระดับสินค้าให้มีมาตรฐานพร้อมจัดจำหน่ายในระดับประเทศและต่างประเทศ

อ่านต่อ →

ม.อ.วิทยาเขตปัตตานี ปักหมุด “Patanista ปัตตานีเมืองแฟชั่น“ วางเป้าพัฒนาผ้าบาติกปัตตานีสู่สากล

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ตั้งเป้าหมายต่อยอดพัฒนาผ้าบาติกปัตตานีฐานทุนวัฒนธรรมสู่สากล ตั้ง Patanista Academy ศูนย์อบรมด้านแฟชั่น หวังสร้าง creative economy มุ่งสู่ “Patanista ปัตตานีเมืองแฟชั่น”

อ่านต่อ →

ม.สงขลานครินทร์ ร่วมจัดตั้งสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ พัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อผลิตบุคลากรด้าน AI ที่มีคุณภาพรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจุบันพร้อมยกระดับอุตสาหกรรมในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล และ 4 มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย ร่วมจัดตั้งสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ พัฒนาหลักสูตรและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และคอมพิวเตอร์เพื่อผลิตบุคลากรด้าน AI ที่มีคุณภาพรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจุบันพร้อมยกระดับอุตสาหกรรมในประเทศไทย

อ่านต่อ →

บัณฑิต ม.สงขลานครินทร์ เรียนรู้ ปรับตัว พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี นำนวัตกรรมสร้างประโยชน์แก่สังคม มุ่งพัฒนาภาคใต้และประเทศ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปีการศึกษา 2563 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ระหว่างวันที่  10 – 11 พฤษภาคม 2565

อ่านต่อ →

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหน่วยโรคระบบหายใจ ม.สงขลานครินทร์ แนะวัณโรครักษาหายได้หากผู้ป่วยกินยาครบ พบหมอตามนัด

รศ.พญ.วรางคณา กีรติชนานนท์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหน่วยโรคระบบหายใจและภาวะวิกฤตระบบหายใจ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์  ม.สงขลานครินทร์ กล่าวว่า วัณโรคเป็นกลุ่มโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียMycobacterium tuberculosis พบมากในประเทศเขตร้อนชื้นสำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยกระจายอยู่ทุกภูมิภาคและเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศไทยเนื่องจากพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในแต่ละปีค่อนข้างเยอะ วัณโรคเป็นโรคที่ติดต่อกันง่ายผ่านละอองฝอยจากการไอและจามที่ลอยฟุ้งอยู่ในอากาศ (เชื้อที่แฝงอยู่ในละอองเสมหะประมาณ 30% สามารถมีชีวิตอยู่ในอากาศได้นานหลายชั่วโมง) มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจหากผู้ป่วยได้รับเชื้อผ่านการสูดหายใจเอาเชื้อเข้าสู่ปอดโดยตรงพบบ่อยที่สุด คือ วัณโรคปอด อาการเริ่มต้นส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักมีอาการไอนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ ซึ่งอาการไอจะมีผลต่อทางเดินหายใจส่วนล่าง (ปอด หลอดลม) มีเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการไอนานๆ มักก่อให้เกิดโพรงแผลในปอดและทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเลือดร่วมด้วยจะส่งผลให้มีการไอเป็นเลือด

อ่านต่อ →

“ไข่” ไร้ Food Waste พัฒนาเปลือกไข่ เป็นตัวดูดซับฟอร์มัลดีไฮด์ ในเฟอร์นิเจอร์และสารเคมีตกค้าง

ในแต่ละปี ประเทศไทยมีการบริโภคไข่ ไม่ว่าจะเป็นไข่ไก่ ไข่เป็ด หรือไข่นกกระทา เป็นจำนวนหลายล้านฟอง ทั้งในระดับครัวเรือนและระดับอุตสาหกรรม เรียกได้ว่า “ไข่” เป็นวัตถุดิบยอดนิยม ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีเปลือกไข่จำนวนมหาศาล และด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่หลุมฝังกลบที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล รวมทั้งแนวทางการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ามากที่สุด การนำของเหลือทิ้งหรือของเสียต่างๆ มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ จึงได้รับความนิยมมากขึ้น เช่นเดียวกับแนวคิด “ทำอย่างไรเปลือกไข่ที่ไร้ค่าจะได้รับการนำมาใช้หรือผลิตให้เป็นประโยชน์” นี่จึงเป็นแนวคิดของงานวิจัยชิ้นนี้

อ่านต่อ →