บพท. จับมือ มหาวิทยาลัย ดัน ซอฟต์ พาวเวอร์ ผ่านมหกรรมทุนทางวัฒนธรรมฟื้นใจเมือง พร้อมเปิดตัวระบบฐานข้อมูลและแผนที่วัฒนธรรม กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมของภาคใต้

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ 33 จังหวัด 41 สถาบัน หนุนเสริมพลังโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมภาคีเครือข่ายชุมชน ท้องถิ่น ศิลปิน และผู้ประกอบการวัฒนธรรม เดินหน้าจัดงาน“มหกรรมทุนทางวัฒนธรรมฟื้นใจเมือง” 4 ภูมิภาค ผลักดันทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาสู่ซอฟต์ พาวเวอร์ จัดแสดงในงาน เพื่อหยั่งรากสำนึกท้องถิ่นและกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ส่งเสริมศิลปินและผู้ประกอบการวัฒนธรรม พร้อมโชว์ระบบฐานข้อมูลและแผนที่วัฒนธรรมของประเทศไทย เป็นแหล่งรวมสืบค้นต้นทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ

อ่านต่อ →

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในเวที Thailand Research Expo 2022

เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network: RUN) นำผลงานวิจัยจาก 8 มหาวิทยาลัย มาร่วมจัดแสดงนิทรรศการภายในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022) ครั้งที่ 17” เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ เชื่อมโยงบูรณาการองค์ความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีส่วนร่วมในการชูผลงานวิจัยเด่น ตอบโจทย์แนวคิด “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”

อ่านต่อ →

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พัฒนา “อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม” นวัตกรรมจากการบูรณาการศาสตร์การแพทย์ กับมาตรฐานตอยยีบัน เสริมความมั่นใจสำหรับผู้นับถือศาสนาอิสลาม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่าผู้ป่วยมุสลิมหลายท่านมีความกังวลจากการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์บางชนิด เนื่องจากไม่มั่นใจในองค์ประกอบที่อาจขัดต่อการทำศาสนกิจ จึงเป็นแนวคิดที่จะสร้างมาตรฐานอุปกรณ์รวมทั้งองค์ประกอบที่ให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจและผ่านการรับรองมาตรฐานฮาลาล โดยมีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดกรองผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่จะใช้กับผู้ป่วย โดยใช้เวลาหลายปีในการพัฒนา “อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม” จนสามารถเป็นตัวอย่างให้กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น เครื่องมือแพทย์ อาหารทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร

อ่านต่อ →

“ไข่” ไร้ Food Waste พัฒนาเปลือกไข่ เป็นตัวดูดซับฟอร์มัลดีไฮด์ ในเฟอร์นิเจอร์และสารเคมีตกค้าง

ในแต่ละปี ประเทศไทยมีการบริโภคไข่ ไม่ว่าจะเป็นไข่ไก่ ไข่เป็ด หรือไข่นกกระทา เป็นจำนวนหลายล้านฟอง ทั้งในระดับครัวเรือนและระดับอุตสาหกรรม เรียกได้ว่า “ไข่” เป็นวัตถุดิบยอดนิยม ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีเปลือกไข่จำนวนมหาศาล และด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่หลุมฝังกลบที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล รวมทั้งแนวทางการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ามากที่สุด การนำของเหลือทิ้งหรือของเสียต่างๆ มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ จึงได้รับความนิยมมากขึ้น เช่นเดียวกับแนวคิด “ทำอย่างไรเปลือกไข่ที่ไร้ค่าจะได้รับการนำมาใช้หรือผลิตให้เป็นประโยชน์” นี่จึงเป็นแนวคิดของงานวิจัยชิ้นนี้

อ่านต่อ →

ม.อ. ร่วมกับ OR คาเฟ่อเมซอน ศึกษาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติกจากองค์ความรู้งานวิจัย ตอบโจทย์ BCG

วันนี้ (18 พ.ย. 64) ที่ Café Amazon (คาเฟ่ อเมซอน) ปตท. สาขาทางเข้าสนามบิน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ส่งมอบเฟอร์นิเจอร์หวายเทียมจากงานวิจัย แก่คาเฟ่อเมซอน โออาร์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากการศึกษาแนวทางการ upcycling พลาสติกเหลือทิ้งผสมร่วมกับยางพารา โดยใช้องค์ความรู้งานวิจัยของ ดร. ณัฐพนธ์ อุทัยพันธุ์ และ ดร.กานดา เซ่งลอยเลื่อน เป็นฐานเพื่อผลิตเป็นวัสดุจักรสานสำหรับเฟอร์นิเจอร์จากยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก ตอบโจทย์ BCG ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ คาเฟ่อเมซอน โออาร์ ภายใต้แนวคิด นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม “ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก”

อ่านต่อ →

นักวิจัย ม.สงขลานครินทร์ แปรรูปแป้งกล้วยน้ำว้าดิบสู่ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพตอบโจทย์ผู้บริโภคสาย Healthy

นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ. วิทยาเขตปัตตานี แปรรูปกล้วยน้ำว้าดิบเป็นแป้งกล้วยที่ให้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต ปราศจากกลูเตน มีไฟเบอร์สูงเมื่อเทียบกับแป้งชนิดอื่นๆ สามารถประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพสู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบสแน็คบาร์กรอบจากแป้งกล้วย 100% MusaWa : นวัตกรรมอาหารขบเคี้ยวจากแป้งกล้วยน้ำว้า

อ่านต่อ →

นักวิจัยคณะวิทย์ ม.อ. สร้างนวัตกรรม “Green plate” จานจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

จากปัญหาขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ประเภทพลาสติก และกล่องอาหารพร้อมทานที่ซื้อจากร้านสะดวกซื้อ ถึงแม้บรรจุภัณฑ์บางชนิดสามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ แต่ก็ใช้เวลานานจนทำให้เกิดการกำจัดขยะอย่างผิดวิธีเช่นการเผาจนเกิดปัญหามลภาวะเป็นพิษ คณะนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเข้ามามีส่วนร่วมในการลดใช้ Single use plastic โดยการนำโจทย์ปัญหาจากชุมชนมาแก้ไขและต่อยอดเป็นนวัตกรรมจานจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มีส่วนช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมภูมิปัญญาจากชุมชน

อ่านต่อ →

ม.สงขลานครินทร์ คิดค้นอุปกรณ์หนุนสะโพกจากยางธรรมชาติ สร้างความปลอดภัยให้ผู้สูงอายุ

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ได้สนับสนุนนักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการคิดค้นและพัฒนาอุปกรณ์หนุนสะโพก จากยางธรรมชาติ ประกอบด้วย แผ่นหนุนสะโพก และ ชุดหนุนสะโพกทำด้วยผ้ายืด ออกแบบเป็นเข็มขัดรัด สามารถลดแรงกระแทกได้ถึง ร้อยละ 37 มีความยืดหยุ่นสูง เพื่อสะดวกต่อทุกสถานที่ในการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถปรับได้ตามต้องการ ผลงานได้รับมาตรฐาน มอก. ๒๙๕๘-๒๕๖๒ และได้รับอนุสิทธิบัตรการออกแบบ และกระบวนการผลิต (หมายเลข 1703000630 และ 1703000631)

อ่านต่อ →

ทีมนักวิจัย ม.สงขลานครินทร์ ระบุชนิดโรคอุบัติใหม่ ใบร่วงยางพารา ได้สำเร็จเป็นรายงานแรกในโลก

จากสถานการณ์การระบาดของโรคใบร่วงยางพาราที่เริ่มสำรวจพบตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 ในไทยพบระบาดครั้งแรกในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และยังพบในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ได้แก่ ยะลา ตรัง พังงา ปัตตานี สุราษฎร์ธานี สงขลา กระบี่ และสตูล มีรายงานความเสียหายจากโรคใบร่วงยางพารามากกว่า 100,000 ไร่ โรคนี้สามารถพบได้ในยางพาราตั้งแต่ระยะต้นกล้าในแปลงเพาะชำจนถึงระยะในแปลงทุกช่วงอายุ สายพันธุ์ที่พบเป็นโรค ได้แก่ สายพันธุ์ RRIM 600, RRIT 251,PB 235 และ PB311 ซึ่งเข้าทำลายส่วนต่าง ๆ ของต้นยาง ได้แก่ ฝัก ใบ กิ่งก้าน และหน้ากรีดยาง ฝักที่ถูกทำลายจะเน่าดำ ค้างอยู่บนต้น ไม่แตก และร่วงหล่นตามธรรมชาติ กลายเป็นแหล่งพักตัวของเชื้อ และที่สำคัญ ผลผลิตยางจะเริ่มลดลง

อ่านต่อ →