“จังหวัดสงขลา” เป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด คือวันที่ 10 มีนาคม โดยนับเริ่มจากวันที่วางเสาหลักเมืองจังหวัดสงขลา ณ ศาลหลักเมืองสงขลา ถนนนางงาม อ.เมืองสงขลา โดยเป็นเสาหลักเมืองไม้ชัยพฤกษ์ที่ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นเสาหลักเมืองที่ปรากฏจนถึงทุกวันนี้10 มีนาคม ของทุกปีจึงเป็นวันที่ชาวสงขลาทุกคนร่วมระลึกถึงการสถาปนาเมืองสงขลา มีการร่วมกันทำกิจกรรมแก่บ้านเมืองและมีส่วนช่วยในการส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟูวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นในชุมชน ที่สำคัญเป็นการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างภาครัฐกับประชาชน เกิดความรัก ความสมานฉันท์ และความผูกพันในการอยู่ร่วมกันในสังคม นำสู่ความสันติสุข ตลอดจนการสร้างความภาคภูมิใจให้ชาวสงขลา
สมาคมผู้บริโภคจังหวัดสงขลาเปิดเผยเรื่องร้องเรียนจากประชาชนจากการรวบรวมของสมาคมผู้บริโภคจังหวัดสงขลาร่วมกับสภาองค์กรผู้บริโภค ตั้งแต่เริ่มต้นปี 2566 วันที่ 1-24 มกราคม 2566 ทั้งหมด 46 กรณี ประเด็นที่รับร้องเรียนมากที่สุด คือ สื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 33 กรณีจาก 46 กรณี ส่วนประเด็นอื่นๆคือ สินค้าออนไลน์ กลุ่มบริการและสินค้าทั่วไป ขนส่งและยานพาหนะ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับ เทศบาลนครหาดใหญ่ และผู้ประกอบการ ในการจัดโครงการ HATYAI SIDEWALK เพื่อสร้าง LANDMARK ด้านการท่องเที่ยวแห่งใหม่ของหาดใหญ่ และ กระตุ้นการเดินทางของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก สัมผัสประสบการณ์ท่องเที่ยว ณ หาดใหญ่ เพื่อกระตุ้นกระแสเงินสดหมุนเวียนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของหาดใหญ่ โดยมี ดร.นาที รัชกิจประการ ประธานที่ปรึกษา รองนายกรัฐมนตรี นางสาว ภัทรอนงค์ ณ เชียงใหม่ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ ร่วมเยี่ยมชมงาน HATYAI SIDEWALK 2022 LANDMARK แห่งใหม่ของ หาดใหญ่ โดยคาดหวังว่ากิจกรรมนี้จะเป็นหนึ่งกิจกรรมที่กระตุ้นการเดินทางของนักท่องเที่ยว สู่ หาดใหญ่ และ ฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของหาดใหญ่ให้กลับมาคึกคักดังเดิม
วันนี้ (18 พ.ค. 65) ที่ ห้องแกรนด์บอลรูม ตึกแกรนด์บอลรูม โรงแรมบุรีศรีภู คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการ “แหล่งเที่ยวจังหวัดสงขลา (1 อำเภอ 1 แหล่งท่องเที่ยว)” เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวต่างๆในจังหวัดสงขลาให้เป็นที่น่าสนใจ ดึงดูดนักท่องเที่ยว สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งในด้านการบริการ ความปลอดภัย และเพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทประเด็นการท่องเที่ยวภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาการท่องเที่ยวของภาครัฐในระดับต่างๆ
คุณสมพล ชีววัฒนาพงศ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จ.สงขลา กล่าวว่า ก่อนหน้าจังหวัดสงขลาเปิดด่านพรมแดนสะเดารับนักท่องเที่ยวด้วย Test and go ตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมาพบว่ามีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาจังหวัดสงขลาผ่านพรมแดนสะเดาประมาณ 2,000 คน ซึ่งน้อยกว่าที่ตั้งเป้าไว้ จังหวัดสงขลาและสภาอุตสาหกรรมจึงได้เสนอการผลักดันให้จังหวัดสงขลาเป็นพื้นที่สีฟ้าเพื่อเป็นพื้นที่กระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว ต่อ ศบค. และเมื่อวันที่ 22 เมษายน ที่ผ่านมามีมติเพิ่มจังหวัดสงขลาเป็นพื้นที่สีฟ้า(นำร่องการท่องเที่ยว)
วันนี้ (18 เม.ย. 65) องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการศึกษาความเหมาะสมการก่อสร้างหอชมเมืองและสกายวอล์ค เพื่อรองรับการท่องเที่ยว สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศตามนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยมีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรชุมชน และประชาชนผู้สนใจ ได้เข้าร่วมรับฟัง ที่ โรงแรมคริสตัล หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
เดินหน้าไปอีกหนึ่งก้าวสำคัญกับการนำสงขลาสู่มรดกโลก ด้วยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี ร่วมมือกันนำนักวิชาการของสองมหาวิทยาลัย ค้นเรื่องราวของชาวจีนที่เดินทางมายังเมืองสงขลาเมื่อปี พ.ศ. 2223 – 2385 เพื่อเป็นข้อมูลในการนำสงขลาสู่เมืองมรดกโลก
“จังหวัดสงขลา” เป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด คือวันที่ 10 มีนาคม โดยนับเริ่มจากวันที่วางเสาหลักเมืองจังหวัดสงขลา ณ ศาลหลักเมืองสงขลา ถนนนางงาม อ.เมืองสงขลา โดยเป็นเสาหลักเมืองไม้ชัยพฤกษ์ที่ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นเสาหลักเมืองที่ปรากฏจนถึงทุกวันนี้
ประเทศไทยถือว่ามีความก้าวหน้ามากในภูมิภาคอาเซียน ที่กำหนดเรื่องการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 และมีแนวคิดเรื่อง “องค์กรอิสระ” ที่จะเป็นตัวแทนของผู้บริโภค ทำหน้าที่เสนอความคิดเห็นจัดทำนโยบาย มาตรการเพื่อการคุ้มครอง สะท้อนหลักการสำคัญว่า ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการจัดทำนโยบายและมาตรการเพื่อคุ้มครองตนเอง รวมทั้งเป็นตัวแทนในการให้ความคิดเห็นที่เป็นอิสระ รักษาผลประโยชน์ของทุกคน “เพราะทุกคนคือผู้บริโภค”
U2T ม.อ. พัฒนา 5 ผลิตภัณฑ์เด่นและท่องเที่ยววิถีชุมชนวิถีธรรมชาติตำบลสำนักแต้ว ตอบโจทย์ “สำนักแต้วมีดีอะไร” ที่ตำบลสำนักแต้ว อ.สะเดา จ.สงขลา โดยพื้นที่โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งมหาวิทยาลัย(U2T) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีทั้งหมด 10 หมู่บ้าน ซึ่งทีมงาน U2T ม.อ. รวม 38 คนประกอบด้วยบัณฑิตอาสา นักศึกษา ชาวบ้าน ลงพื้นที่ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา