เครือข่ายการทำงานเพื่อผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2559 โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เช่น ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Health Product Vigilance Center Thailand) เขตบริการสุขภาพที่ 10 และเขตบริการสุขภาพที่ 12 เป็นต้น ทั้งนี้ในปี 2561 โครงการ TaWai for Health ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยและดำเนินการจาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (บูรณาการ) จึงได้ก่อตั้งเป็นหน่วยวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สังกัดคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Telepharmacy เภสัชกรรมทางไกล คืออะไร?
Telepharmacy คือ การบริบาลทางเภสัชกรรมและการส่งมอบเภสัชภัณฑ์จากเภสัชกรผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลไปยังผู้ป่วย ที่อยู่ในสถานที่ที่แตกต่างกัน ผู้ป่วยจะได้รับยาและการดูแลรักษาทางเภสัชกรรม ภายในสถานที่ที่ปลอดภัยและสะดวกต่อการเข้าถึง ซึ่งครอบคลุมไปถึง การให้คำปรึกษาด้านยา (patient counseling), การติดตามการรักษาและผลข้างเคียง (drug therapy monitoring ) การจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ (refill the prescribed drugs)
“รับยาใกล้บ้าน เภสัชกรใกล้ใจ” ลดความแออัด ลดระยะเวลาการรอคอยรับยาที่โรงพยาบาล
กระทรวงสาธารณสุข ปรับกลยุทธ์ “รับยา ใกล้บ้าน” เพิ่มรายการโรค รายการยา ให้เหมาะสมกับพื้นที่ สร้างความรอบรู้ประชาชน ลดความแออัด ลดระยะเวลารอคอยผู้รับบริการในโรงพยาบาล พร้อมปรับปรุงระบบให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยและข้อมูลใบสั่งยาระหว่างโรงพยาบาลและร้านยา จัดระบบการขนส่งยาให้รวดเร็วทันเวลา เพิ่มการเข้าถึงบริการที่ได้มาตรฐานที่ร้านขายยา เพิ่มร้านยาใกล้บ้าน เพื่อความสะดวกของผู้ป่วย รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ป่วยรับทราบ สนใจ และเกิดความเชื่อมั่นในการใช้บริการอีกด้วย
Family Pharmacist มีเภสัชกรประจำครอบครัวดีอย่างไร ?
เภสัชกรประจำครอบครัว (Family Pharmacist) คือเภสัชกรที่ดูแลเรื่องการใช้ยาของผู้ป่วยร่วมกับครอบครัวของผู้ป่วย เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและความปลอดภัย โดยครอบคลุมทุกมิติที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยา ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สภาวะทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และเป็นหนึ่งในทีมงานของสหสาขาวิชาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ ในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัว
“สงขลานครินทร์” ตั้งเป้าเป็นแหล่งเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และใช้เทคโนโลยีในการจัดการปัญหาพื้นที่
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งวิสัยทัศน์โดยรวมที่มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยใช้องค์ความรู้และนวัตกรรมของทั้ง 5 วิทยาเขต คือ ปัตตานี หาดใหญ่ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และตรัง เพื่อเป็นรากฐานให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ ศึกษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยแต่ละวิทยาเขตมีทั้งความเหมือนและมีจุดเด่นในคณะวิชาหลักๆ ที่ต่างกัน มีความทันสมัย ความเข้มแข็งของการเรียนการสอน การสามารถนำไปใช้กับชีวิตจริงได้ เน้นการทำประโยชน์เพื่อสังคม
สคร.12 สงขลา จัดประชุมสัมมนาเครือข่ายสื่อสารประชาสัมพันธ์ภาคใต้ตอนล่าง กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อลดโรคและภัยสุขภาพ
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กรมควบคุมโรค จัดประชุมสัมมนาเครือข่ายสื่อสารประชาสัมพันธ์ เขต 12 ประจำปี 2563 เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) และการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อลดโรคและภัยสุขภาพ
ดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ รู้ทันป้องกัน COVID-19
เป็นที่ทราบกันดีว่า COVID-19 สามารถแพร่กระจายผ่านละอองฝอยที่มีเชื้อไวรัสปะปนจากผู้ติดเชื้อ ที่จาม ไอออกมา หรือสัมผัสพื้นผิวและสิ่งของที่ปนเปื้อนไวรัสจากผู้ติดเชื้อ หากเกิดการติดเชื้อจะส่งผลให้เกิดอาการในระบบทางเดินหายใจตั้งแต่ระดับไม่รุนแรงไปจนถึงขั้นเสียชีวิต โดยหญิงตั้งครรภ์ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ต้องมีการดูแลตัวเองให้มากขึ้น เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง คลอดอย่างปลอดภัยทั้งแม่และลูก
ศิษย์เก่าสงขลานครินทร์ ต่อยอดนวัตกรรมจากยางพารา สู่ผลิตภัณฑ์ “รองเท้าโคนมเพื่อสุขภาพ”
“ณัฐวี บัวแก้ว” ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บอกถึงจุดเริ่มต้นของไอเดียในการทำธุรกิจ ว่า มาจากงานวิจัยของตนเองเกี่ยวกับการแปรรูปยางพาราที่ถูกนำมาต่อยอดจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย โดยผลิตภัณฑ์แรกที่นำเสนอออกมาได้แก่ ถุงเพาะชำย่อยสลายได้ภายใต้แบรนด์ “Greensery” โดยเป็นถุงที่ทำจากยางพารา และสามารถย่อยสลายได้ภายในระยะเวลา 6 เดือน – 1 ปี ซึ่งสามารถดูดซับน้ำได้ และมีสารอาหาร N ,P และK โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างปรับปรุงโรงงาน หลังจากที่มีออเดอร์เข้ามาเป็นจำนวนมากจนไม่สามารถผลิตได้ทัน และล่าสุดได้พาสเนอร์รายใหม่ที่จะเข้ามาร่วมทำธุรกิจเรียบร้อยแล้ว
ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์จากยาง : แนวทางในการเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร
นวัตกรรมคือหนทางสำคัญในการเพิ่มมูลค่า การสร้างความหลากหลายของตัวผลิตภัณฑ์ เพราะยางพารานำไปทำผลิตภัณฑ์ได้จำนวนมาก เช่นในสถานการณ์การระบายของเชื้อโรคโควิด 19 มีการผลิตภัณฑ์จำนวนมากจากยางพารามาช่วยในการป้องกันการกระจายของเชื้อโรค โดยเชื่อมโยงกับทางการแพทย์ สุขภาพ การกีฬา การขนส่ง งานโครงสร้างอาคาร การเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ยังคงให้ความสำคัญกับยางพาราในทุกกระบวนการตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำเพราะมีที่ตั้งของ 5 วิทยาเขตอยู่ในภาคใต้ ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้มีอยู่พร้อมในมหาวิทยาลัย เพียงแต่นำมาเชื่อมประสานให้เกิดความเข้มแข็งมากขึ้น
“พาราควอต” และ “คลอร์ไพริฟอส” วัตถุอันตราย ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก และการมีไว้ในครอบครอง
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา แนะนำให้เกษตรกรใช้วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน การปลูกพืชคลุมดิน การปรับเปลี่ยนระบบการปลูกพืช สามารถศึกษาข้อมูลวิชาการในการใช้สารทดแทน หรือวิธีการอื่นที่เหมาะสมจากกรมวิชาการเกษตร เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับเกษตรกรในการควบคุมศัตรูพืชหลากหลายวิธี เพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมีลง ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรมีความปลอดภัย ส่งผลดีต่อสุขภาพของเกษตรกร ซึ่งเป็นผู้ผลิต รวมถึงผู้บริโภค ส่งผลกระทบทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น