ส่วนขยายโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (SCCC) หรือโรงพยาบาลสนาม ม.อ. ตั้งอยู่ภายในศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ : องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และศูนย์บ่มเพาะคนดี มูลนิธิสวนประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จ.สงขลา สามารถรองรับผู้ป่วยโควิด – 19 ที่มีอาการเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการ ภายใต้การดูแลของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
การดูแลสุขภาพในช่วงถือศีลอด “เดือนรอมฎอน”
แพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ แนะนำสำหรับผู้ที่ถือศีลอดในช่วงเดือนรอมฎอน สำหรับการรับประทานอาหารตามช่วงเวลาที่กำหนด ว่าควรรับประทานอาหารสุกใหม่ๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด มันจัด โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง
ม.อ.ภูเก็ต เปิดโรงพยาบาลสนาม(อีกครั้ง) รองรับผู้ป่วยโควิด-19
โรงพยาบาลสนามจังหวัดภูเก็ต เปิดอย่างเป็นทางการเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด-19 สำหรับสังเกตอาการผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการไม่รุนแรง เป็นการป้องกันการแพร่เชื้อสู่ชุมชน โดยได้รับการดูแลจากทีมแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้มีระบบส่งต่อที่ดีมีมาตรฐานหากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง
แนวทางการกักกันในสถานที่ควบคุมเป็นที่พักอาศัย (Home Quarantine)
แนวทางการกักกันในสถานที่ควบคุมเป็นที่พักอาศัย (Home Quarantine) สำหรับผู้ที่เดินทางจากพื้นที่ สถานที่เสี่ยง หรือมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยสังเกตอาการ ณ ที่พักอาศัย เพื่อสังเกตอาการของตัวเองอย่างน้อย 14 วัน ปฎิบัติตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด และยึดหลัก D-M-H-T-T เพื่อป้องกันตนเอง
เตือน!! กิน”หอยเม่นไทย” กระทบระบบนิเวศน์ ประโยชน์น้อย มีแค่ไขมันสูง
กระแสการจับหอยเม่นในท้องทะเลไทยมาบริโภคจะส่งผลต่อแนวปะการัง เพราะระยะหลังๆ คนไทยเริ่มหันมากินหอยเม่นในทะเลไทยมากขึ้น จนอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศได้ เนื่องจากหอยเม่นที่อาศัยในแนวปะการัง จะช่วยกินสาหร่ายขนาดเล็ก โดยจะแทะไปตามปะการังตายและก้อนหิน เปรียบเสมือนผู้ควบคุมปริมาณสาหร่ายในระบบนิเวศแนวปะการัง
ม.อ. ลดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมหอพัก
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประกาศแนวทางการช่วยเหลือและเยียวยานักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ทั้งการจัดสรรทุนการศึกษาเพิ่มเติม ลดค่าธรรมเนียมการศึกษา จัดบริการและสวัสดิการสำหรับนักศึกษา
สงขลานครินทร์ ลงนาม บริษัทกรีนโนเวทจำกัด ปลูก ผลิต ทดสอบ กัญชา กัญชง สู่มาตรฐานสากล
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงนามความร่วมมือกับบริษัทกรีนโนเวท จำกัด เพื่อร่วมมือวิจัยศึกษาการปลูก ผลิต ทดสอบ กัญชา กัญชง โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ. สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงนามกับ นางสาวภัคจิรา รัชกิจประการ กรรมการผู้จัดการบริษัทกรีนโนเวท จำกัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ และนายกฤษณพงศ์ ลักษณะโภคิน ผู้บริหาร บริษัทกรีนโนเวท จำกัด เป็นพยานในการลงนาม และมีรองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ยูรวงศ์ คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร และนักวิจัย ร่วมเป็นเกียรติ เมื่อวันพุธที่ 7 เมษายน 2564 ณ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ว่าด้วยเรื่องกฎหมายกับการบังคับฉีดวัคซีนโควิด-19
การเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ประชาชนส่วนใหญ่จึงประสงค์ที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีน แต่ในทางกลับกันก็อาจจะมีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ประสงค์จะเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ทางรัฐบาลจัดให้ โดยมีเหตุผลหรือความจำเป็นบางประการ เช่น ปัญหาสุขภาพจึงทำให้ไม่สามารถเข้ารับรับวัคซีนได้ มีความเชื่อว่าการรับวัคซีนเป็นการขัดต่อหลักการทางศาสนา หรือมีความกังวลในประสิทธิภาพของวัคซีนที่อาจจะส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายได้
สำนักงานจัดหางานจังหวัดสงขลา ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน สร้างงาน สร้างอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน
สำนักงานจัดหางานจังหวัดสงขลา ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จัดงาน "นัดพบแรงงานสงขลา (Songkhla Job Fair 2021)" ระหว่างวันที่ 7-8 เมษายน 2564 เวลา 09.00-16.00 น. ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชครบ ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ปัญหาขยะทะเลและอันตรายจากไมโครพลาสติก
ปัญหาขยะทะเลยังคงเป็นปัญหาที่ทั่วโลกยังคงให้ความสำคัญ ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่เจตนาและไม่เจตนาทิ้งขยะบนบกลงสู่ทะเลหรือแม่น้ำ ขยะเหล่านี้จะถูกพัดพาลงสู่ทะเลโดยกระแสลมและกระแสน้ำ ดังนั้นขยะทะเลจึงถูกพบในพื้นที่ทั่วทุกทะเลทั่วโลก สำหรับประเทศไทยได้มีเดินหน้าแก้ปัญหาขยะพลาสติกในทะเลอย่างจริงจัง โดยการดำเนินการด้านต่างๆ เช่น จัดทำ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 - 2573 โดยตั้งเป้าเลิกใช้พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม พลาสติกผสมสารอ็อกโซ่ และไมโครบีดส์ ภายในปี 2562 การเลิกใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว ที่มีความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน กล่องโฟมใส่อาหาร หลอดและแก้วพลาสติกชนิดบางแบบใช้ครั้งเดียว ภายในปี 2565 รวมถึงการนำขยะพลาสติกเป้าหมาย กลับมาใช้ใหม่ ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 เป็นต้น