การเติมคุณค่าให้ตัวเองไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางใจ ก็ล้วนเป็นการเสริมสร้างความสุข ใจ หมั่นพัฒนาตนเองให้เก่งขึ้นดีขึ้นอยู่เสมอ รู้จักการสร้างกระบวนการคิดบวกการคิดให้มีความสุข การรักตัวเองเป็นไม่ใช่เห็นแก่ตัว คนที่รักตัวเองจะรู้จักเผื่อแผ่ความสุขที่ไปให้ผู้อื่นด้วย คนที่รักตัวเองอย่างถูกวิธี จะเป็นคนที่มีความสุขได้ในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะอยู่กับคนอื่นหรืออยู่คนเดียวก็หาความสุขได้ เรียกว่ามีความสุขได้โดยไม่ต้องพึ่งพาบุคคลภายนอก นอกจากนั้น ยังเป็นคนที่น่าเข้าใกล้ เพราะรู้จักเผื่อแผ่ความสุขให้คนอื่น และมองเห็นคุณค่าในตัวคนอื่น
ตามประกาศการกำหนดให้เปิดภาคเรียนในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 กระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศการเปิดเรียนของสถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้สถานศึกษาทุกแห่งของรัฐและเอกชนทั้งในระบบและนอกระบบ โดยสถานศึกษาต้องจัดให้มีการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับประกาศสถานการณ์ของโรคติดเชื้อ COVID-19 จึงทำให้ผู้ปกครองและหลายฝ่าย มีความกังวลเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว การเตรียมความพร้อมของผู้ปกครอง นักเรียน และบุคลากรของโรงเรียน การสร้างความเข้าใจให้กับทุกฝ่ายถือว่าเป็นประเด็นสำคัญก่อนเปิดภาคเรียนนี้
เนื่องจากผลกระทบของเหตุการโรคระบาด COVID-19 ทำให้สถานการณ์ของประเทศรวมถึงสถานการณ์ระดับโลกมีความเปลี่ยนแปลงและเกิดการปรับตัวกันอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เศรษฐกิจ รวมถึงด้านสาธารณสุข ซึ่งผลกระทบจากการเกิดโรคระบาดในครั้งนี้มีแนวโน้มที่จะส่งผลในระยะยาวและส่งผลให้เกิดการปรับตัวเป็นอย่างมาก
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2563 นายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในการประชุมเพื่อหารือการส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยว หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อโควิด 19 คลี่คลาย ที่ห้องประชุม CEO ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสงขลา โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุม อาทิ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาคมสมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยวจ.สงขลา หอการค้าจังหวัดสงขลา ตัวแทนจากสถาบันอุดมศึกษา ผู้ประกอบการนำเที่ยว ผู้ประกอบท่องเที่ยวชุมชน สาธารณสุขจังหวัดสงขลา สื่อมวลชนทุกแขนงในพื้นที่จังหวัดสงขลา
กรมควบคุมโรค เฝ้าระวังสถานการณ์โรคเลปโตสไปโรสิส หรือโรคไข้ฉี่หนู ในปี 2563 นี้ พบว่ามีผู้ป่วยรวมทั้งสิ้น 501 ราย เสียชีวิต 6 ราย โดยจังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน สูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ระนอง ยะลา พังงา ศรีสะเกษ และสตูล ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ ภาคใต้ รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง กลุ่มอายุที่พบป่วยมากสุด คือช่วงอายุระหว่าง 45–54 ปี รองลงมาคืออายุ 35-44 ปี และอายุ 55-64 ปี อาชีพส่วนใหญ่ที่พบป่วย คือ อาชีพเกษตรกร
เครือข่ายการทำงานเพื่อผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2559 โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เช่น ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Health Product Vigilance Center Thailand) เขตบริการสุขภาพที่ 10 และเขตบริการสุขภาพที่ 12 เป็นต้น ทั้งนี้ในปี 2561 โครงการ TaWai for Health ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยและดำเนินการจาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (บูรณาการ) จึงได้ก่อตั้งเป็นหน่วยวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สังกัดคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วันที่ 26 มิถุนายน 2563 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยอาจารย์พิชิต เรืองแสงวัฒนา รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและการเงิน ผศ.ทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศอ.บต. ต้อนรับ นายอลงกรณ์ พลบุตร ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ เพื่อประชุมขับเคลื่อนศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) (Agritech and Innovation Center หรือ AIC)จังหวัดสงขลา และเยี่ยมชมนิทรรศการเทคโนโลยีและนวัตกรรมของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ณ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
Telepharmacy คือ การบริบาลทางเภสัชกรรมและการส่งมอบเภสัชภัณฑ์จากเภสัชกรผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลไปยังผู้ป่วย ที่อยู่ในสถานที่ที่แตกต่างกัน ผู้ป่วยจะได้รับยาและการดูแลรักษาทางเภสัชกรรม ภายในสถานที่ที่ปลอดภัยและสะดวกต่อการเข้าถึง ซึ่งครอบคลุมไปถึง การให้คำปรึกษาด้านยา (patient counseling), การติดตามการรักษาและผลข้างเคียง (drug therapy monitoring ) การจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ (refill the prescribed drugs)
กระทรวงสาธารณสุข ปรับกลยุทธ์ “รับยา ใกล้บ้าน” เพิ่มรายการโรค รายการยา ให้เหมาะสมกับพื้นที่ สร้างความรอบรู้ประชาชน ลดความแออัด ลดระยะเวลารอคอยผู้รับบริการในโรงพยาบาล พร้อมปรับปรุงระบบให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยและข้อมูลใบสั่งยาระหว่างโรงพยาบาลและร้านยา จัดระบบการขนส่งยาให้รวดเร็วทันเวลา เพิ่มการเข้าถึงบริการที่ได้มาตรฐานที่ร้านขายยา เพิ่มร้านยาใกล้บ้าน เพื่อความสะดวกของผู้ป่วย รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ป่วยรับทราบ สนใจ และเกิดความเชื่อมั่นในการใช้บริการอีกด้วย
เภสัชกรประจำครอบครัว (Family Pharmacist) คือเภสัชกรที่ดูแลเรื่องการใช้ยาของผู้ป่วยร่วมกับครอบครัวของผู้ป่วย เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและความปลอดภัย โดยครอบคลุมทุกมิติที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยา ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สภาวะทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และเป็นหนึ่งในทีมงานของสหสาขาวิชาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ ในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัว