Month: October 2020

Home / 2020 / October

อากาศหนาวเริ่มมาเยือน หมอชวนสร้างสุขภาพป้องกันโอกาสป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่

จากหลายพื้นที่เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น ให้เพิ่มความระวังในกลุ่มเสี่ยงที่เจ็บป่วยได้ง่ายและอาการรุนแรงกว่ากลุ่มทั่วไป ได้แก่ กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป หญิงมีครรภ์ และ กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง โรคตับ และโรคโลหิตจาง เป็นต้น

“บริจาคเลือด” (Blood donation) ดีอย่างไร?

การบริจาคเลือด (Blood donation) เป็นกิจกรรมอาสาสมัครที่ผู้บริจาคยินยอมให้นำเลือดของตนเองไปใช้เมื่อมีผู้ต้องการ การบริจาคเลือดสามารถช่วยเหลือผู้ที่สูญเสียเลือดจากอุบัติเหตุ จากการผ่าตัด หรือผู้ที่มีอาการป่วยต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคโลหิตจาง โรคธาลัสซีเมีย หรือโรคฮีโมฟีเลีย การบริจาคเลือดนั้นรวมไปถึงการบริจาคเม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด และพลาสม่า ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเลือด โดยก่อนที่จะบริจาคเลือดได้นั้นต้องผ่านการทดสอบความเข้มข้นของเลือดและการซักประวัติก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถบริจาคเลือดได้

จับตา!! พายุโซนร้อน “โมลาเบ​”

เมื่อวันที่ 25 ต.ค.63 นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาฝ่ายปฏิบัติการ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า พายุโซนร้อน “โมลาเบ” คาดว่าพายุจะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศฟิลิปปินส์เข้า เวียดนามกลาง ซึ่งพายุลูกนี้น่ากลัวว่า พายุ “โซเดล” ความจริงพายุ "โมลาเบ" เคลื่อนตาม ไล่เรียงตามมาติด "พายุโซเดล" แต่จังหวะที่ "พายุโซเดล" เข้ามา เป็นช่วงที่ประเทศไทยมีอากาศเย็นลงมา จึงทำให้ “พายุโซเดล” อ่อนกำลังลงมา ทำให้ฝนตกทางภาคเหนือ อีสาน ฝนตกต่อเนื่อง แต่ไม่แรง

พิธีปิดโครงการ การต่อยอดผลิตภัณฑ์ต้นแบบเพื่อพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา สู่การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)

สำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพันธกิจสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ดำเนินการเป็นที่ปรึกษาโครงการ การต่อยอดผลิตภัณฑ์ต้นแบบเพื่อพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางพาราสู่การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ 2563 ระยะเวลาดำเนินงานโครงการ 100 วัน ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2563 ถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2563

คณะทันตแพทย์ ม.อ.บริการทำฟันฟรี และเปิดกระปุกเพื่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ สมทบกองทุนเฉลิมพระเกียรติ 100 ปี สมเด็จย่า

ในวโรกาส 100 แห่งประสูติการของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อน้อมรำลึกและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่มีต่อวงการทันตสาธารณสุขของประเทศไทย กองทุนเฉลิมพระเกียรติ 100 ปี สมเด็จย่า คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 โดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงประทานพระอนุญาตให้ใช้ชื่อกองทุนว่า “กองทุนเฉลิมพระเกียรติ 100 ปีสมเด็จย่า คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ” เมื่อสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จสู่สวรรคาลัย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมี ทรงรับกองทุนฯ ไว้อยู่ในพระราชูปถัมภ์ ตั้งแต่ 26 พฤศจิกายน 2551 เป็นต้นมา

ทำไมต้อง Bully (บูลลี่)?

ปัจจุบันคำว่า Bully (บูลลี่) เริ่มปรากฏตามสื่อต่าง ๆ มากขึ้น เนื่องจากสังคมเริ่มตื่นตัวกับเรื่องการกลั่นแกล้ง ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่มักเกิดขึ้นกับเด็กที่ถูกกลั่นแกล้งจากเพื่อนที่โรงเรียน จากที่ทำงาน ในสังคม หรือแม้กระทั่งในโลกออนไลน์ ฉะนั้นบูลลี่ไม่ใช่เรื่องเล็กอีกต่อไป และมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้นในสังคมไทย

ม.อ. ร่วม กสศ. และภาคี พัฒนาครู – โรงเรียน ยกระดับคุณภาพการศึกษา

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัย จัดการประชุมเรื่อง “ยกระดับคุณภาพโรงเรียน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ : ภาคใต้” เดินหน้าพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาต่อเนื่อง

คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ผลงาน อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย ผศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ ได้รับรางวัลชนะเลิศ รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติผลงาน ในผลงาน อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม จาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประกาศสุดยอดนวัตกรรมของประเทศไทย ประจำปี 2563 ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ประเภทหน่วยงานภาครัฐ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2563 ณ โรงแรมสยาม เคมปินสกี้ กรุงเทพฯ โดยมีนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานในพิธี ผลงานดังกล่าวเป็นการนำยางพารามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เพิ่มมูลค่ายางพารา และลดการนำเข้าสินค้าทางการแพทย์

PSUBLaw : ความผิดเกี่ยวกับการทำให้เสียชื่อเสียง

การพูดนั้นสิ่งสำคัญ ต้องพูดแล้วไม่เดือดร้อนผู้อื่นหรือไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อน ต้องตระหนักอยู่เสมอก่อนพูด ว่าคำพูดที่พูดออกไปนั้นจะ "หมิ่นประมาท" หรือไม่? กรณี "หมิ่นประมาท" นอกจากจะมีความผิดทางอาญาแล้ว ผู้กระทำผิดยังต้องรับผิดทางแพ่งซึ่งต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายอีกกรณีหนึ่งพร้อม ๆ กัน โดยจะแยกพิจารณาให้เห็นความรับผิดเกี่ยวกับคดีหมิ่นประมาท

ระวัง !! พิษจากไข่แมงดาทะเล อันตรายถึงชีวิต

จากข้อมูลทางวิชาการพบว่า สารพิษที่พบอยู่ในเนื้อและไข่ของแมงดาถ้วยคือสารเทโทรโดท็อกซิน (tetrodotoxin) และซาซิท็อกซิน (saxitoxin) ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกันกับที่พบในปลาปักเป้า เป็นสารที่ส่งผลต่อระบบควบคุมการหายใจถึงขั้นเสียชีวิต โดยพิษในแมงดาถ้วยเกิดจาก 2 สาเหตุหลักๆ คือ 1.แมงดากินแพลงก์ตอนที่มีพิษ หรือกินสัตว์ทะเลอื่นๆ ที่กินแพลงก์ตอนพิษเข้าไปทำให้สารพิษไปสะสมอยู่ในเนื้อและไข่ของแมงดา 2.เกิดจากแบคทีเรียในลำไส้ที่สร้างพิษขึ้นมาได้เอง หรือสาเหตุประกอบกันทั้งสอง และที่สำคัญสารพิษทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นสารที่ทนต่อความร้อนได้ดี การปรุงอาหารด้วยความร้อนวิธีต่างๆ เช่น ต้ม ทอด หรืออบเป็นเวลานานมากกว่าชั่วโมงไม่สามารถทำลายสารพิษชนิดนี้ได้ ประชาชนจึงไม่ควรนำมาบริโภคอย่างเด็ดขาด