วันที่ 17 กรกฎาคม 2566 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย ศาสตราจารย์ ดร.ทพญ.ชิดชนก ลีธนะกุล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศสำหรับสุขภาพช่องปากและคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ ลงนามความร่วมมือกับเทศบาลเมืองควนลัง โดยนายสมบูรณ์ ปัญญาธนกร นายกเทศมนตรีควนลัง เพื่อสร้างความเข้มแข็งต้นแบบในการเสริมสร้าง ป้องกันและรักษาสุขภาพในช่องปาก แก่ประชาชนชุมชนควนสันติ เทศบาลเมืองควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
โอกาสทองผลไม้ใต้ “จำปาดะ” ดูแลง่าย ราคาดี มีอนาคต
งานเกษตรภาคใต้ คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ.ปีนี้จะมีการจัดเสวนาทิศทางการตลาดและการจัดการสวนจำปาดะอย่างยั่งยืนและการประกวดจำปาดะ 3 ประเภทคือจำปาดะเนื้อสายพันธุ์ดี จำปาดะทอดสายพันธุ์ดี จำปาดะขนุนสายพันธุ์ดี วันที่ 1-2 สิงหาคม 2566 เพื่อหวังผลการรวบรวมจำปาดะสายพันธุ์ดีและต้องการนำเสนอให้เห็นว่าจำปาดะ ผลไม้พื้นเมืองภาคใต้มีโอกาสทางการตลาดและกำลังเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค
“Music Food fest @PSU in the garden” จาก PSU Bazaar Online สู่ On Ground ในสวน ต้อนรับนศ.ใหม่และสนับสนุนผู้ประกอบการ
ศูนย์กิจการนานาชาติและสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน PSU Bazaar On Ground ครั้งที่ 2 ภายใต้ชื่อ “Music Food fest @PSU in the garden” ต้อนรับนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2566 และสนับสนุนผู้ประกอบการจากกลุ่มซื้อขายสินค้าออนไลน์แพลตฟอร์ม Facebook : PSU Bazaar เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมส่งเสริมกิจกรรมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยฯ
คณะศึกษาศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี เปิดเวทีวิชาการระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัย และนานาชาติ ในหัวข้อความงอกงามทางการศึกษาที่ยั่งยืนและเสมอภาคสำหรับทุกคน
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมกับ หน่วยงานพันธมิตรทางการศึกษาทั้งภายในและต่างประเทศร่วม 30 หน่วยงาน จัดประชุมมวิชาการระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัย และนานาชาติ ในหัวข้อความงอกงามทางการศึกษาที่ยั่งยืนและเสมอภาคสำหรับทุกคน ระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมเซ็นทารา หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และในระบบออนไลน์ โดยได้รับเกียรติจาก H.E. Jyri Järviaho เอกอัครราชทูตฟินแลนด์ประจำประเทศไทย ปาฐกถาพิเศษเรื่อง การศึกษาที่เท่าเทียมของประเทศฟินแลนด์ ประจำประเทศไทย
ไปรษณีย์ไทยร่วมแคมเปญไปรษณีย์ reBOX เปลี่ยนกล่องเก่า เป็นกล่องรัก
ม.สงขลานครินทร์ และไปรษณีย์ไทย ชวนร่วมแคมเปญไปรษณีย์ reBOX ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ภายใต้แนวคิด “กล่องรักที่สัมผัสได้” กล่องเก่าเป็นกล่องใหม่ สร้างประโยชน์ต่อไปไม่รู้จบ มาร่วมรีไซเคิล กล่อง/ซอง ที่ไม่ใช้แล้ว เป็นกล่อง BOX บุญ ส่งมอบให้หน่วยงานคนพิการ นำไปสร้างประโยชน์ให้คนพิการต่อไปเพียงรวบรวม กล่อง/ซองกระดาษที่ไม่ใช้แล้ว ทุกประเภทมาไว้ที่บริเวณหน้าอาคารศูนย์ไปรษณีย์ได้ทั่วประเทศ หรือ ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ ณ บริเวณที่ทำการไปรษณีย์ สาขา ม.สงขลานครินทร์ ตั้งอยู่บริเวณชั้น 1 อาคารกีฬาและนันทนาการ ศูนย์กีฬาและสุขภาพ วิทยาเขตหาดใหญ่ ระยะเวลาแคมเปญ 20 กุมภาพันธ์ – 31 ตุลาคม 2566
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ สภาพัฒน์ฯ เปิดเวทีระดมความคิดเห็น โครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี
เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยกองยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ปรึกษาโครงการ จัดการประชุมปฐมนิเทศ โครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมีนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมโครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวรายงาน
นักวิจัย ม.อ. ค้นพบ “เอื้องแฝงบริพัตร” กล้วยไม้อาศัยราชนิดใหม่ของโลก
รศ.ดร.สหัช จันทนาอรพินท์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการแลบ้านแลเมือง เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 ว่า กล้วยไม้เอื้องแฝงบริพัตรชนิดนี้ ได้พบครั้งแรกที่น้ำตกบริพัตร จึงมีการตั้งชื่อว่า “เอื้องแฝงบริพัตร” และเนื่องจากในชื่อสกุลของกล้วยไม้สกุลนี้จะอยู่ในสกุล Aphyllorchis โดย Aphyll = ไม่มีใบ orchis = กล้วยไม้ ซึ่งแปลจากภาษาละตินตรงๆก็คือ กล้วยไม้ที่ไม่มีใบ ทั้งนี้คนไทยที่เป็นกลุ่มนักธรรมชาติวิทยาที่สนใจกล้วยไม้ มักจะเรียกกล้วยไม้สกุลนี้ว่า สกุลเอื้องแฝง และก็ได้พบว่ามันมีอีกชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อน จึงใช้ชื่อว่า “เอื้องแฝงบริพัตร” โดยเป็นชนิดที่พบบริเวณน้ำตกบริพัตรครั้งแรก ซึ่งจริงๆแล้วมันไม่ได้พบแค่ที่น้ำตกบริพัตรแต่จะพบได้ในที่อื่นๆอีกด้วย
เบบี้ คริสตัล อันตรายถึงชีวิต ผู้ใดขายหรือนำเข้ามีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เบบี้คริสตัล หรือที่บางคนเรียกว่า น้ำตานางเงือก ประกอบด้วยสาร 2 ชนิด ได้แก่ สารโพลีอะคริลาไมด์ และโพลีไวนิลอะซิเตท มีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำจำนวนมาก เมื่อยังไม่ดูดน้ำจะมีขนาดเล็ก หากดูดน้ำแล้วจะขยายพองตัวขึ้น ทางวิทยาศาสตร์จะเรียกว่า สารโพลีเมอร์ดูดซับยิ่งยวด (Super absorbent polymers) เพราะมีความสามารถในการดูดน้ำเข้าหาตัวเองได้ 800 เท่า ความหมายก็คือถ้าเอาเบบี้คริสตัล 1 กรัม สามารถดูดน้ำเข้าหาตัวเองได้ถึง 800 กรัม เพราะงั้นตัวมันเองจะโตขึ้น 800 เท่า
บพท. จับมือ มหาวิทยาลัย ดัน ซอฟต์ พาวเวอร์ ผ่านมหกรรมทุนทางวัฒนธรรมฟื้นใจเมือง พร้อมเปิดตัวระบบฐานข้อมูลและแผนที่วัฒนธรรม กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมของภาคใต้
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ 33 จังหวัด 41 สถาบัน หนุนเสริมพลังโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมภาคีเครือข่ายชุมชน ท้องถิ่น ศิลปิน และผู้ประกอบการวัฒนธรรม เดินหน้าจัดงาน“มหกรรมทุนทางวัฒนธรรมฟื้นใจเมือง” 4 ภูมิภาค ผลักดันทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาสู่ซอฟต์ พาวเวอร์ จัดแสดงในงาน เพื่อหยั่งรากสำนึกท้องถิ่นและกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ส่งเสริมศิลปินและผู้ประกอบการวัฒนธรรม พร้อมโชว์ระบบฐานข้อมูลและแผนที่วัฒนธรรมของประเทศไทย เป็นแหล่งรวมสืบค้นต้นทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
ผลวิจัย ม.อ. พบว่า “ในพื้นที่มีการระบาดของวัณโรค ผู้ป่วยปอดบวมจากโควิด-19 มีความเสี่ยงเป็นวัณโรคปอด” ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับโลก
ผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่า ในพื้นที่มีการระบาดของวัณโรค ผู้ป่วยปอดบวมจากการติดเชื้อโควิด-19 มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคปอด โดยผลวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร eClinicalMedicine ซึ่งเป็นวารสารทางการแพทย์ ในเครือ Lancet ที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก ผลวิจัยนี้เป็นผลงานของ ดร.นพ.พลกฤต ขำวิชา สาขาวิชาระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยจากข้อมูลผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 และมีอาการปอดอักเสบ มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคสูงถึง 7 เท่า ของคนปกติ โดยศึกษาจากข้อมูลผู้ป่วยโควิด-19 ในช่วงปี 2564 ที่มีการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า และ อัลฟ่า ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 ซึ่งประกอบด้วย 7 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา จำนวนประมาณ 2 หมื่นกว่าคน