แม้สิ่งเล็กน้อยที่เราอาจมองข้าม เพราะสังคมต้องอาศัยกฎหมายช่วยทำหน้าที่หลากหลายประการ ทั้งกำกับวิถีชีวิตและกิจกรรมของคนในสังคม เป็นกติกาคุ้มครอง ป้องกัน ให้สมาชิกในสังคมอยู่กันอย่างสงบสุข
PSUB LAW Podcast : ซื้อขายออนไลน์คือการซื้อขายในตลาดแบบตรง
อาจารย์สุพัทธ์รดา เปล่งแสง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เขียนบทความเรื่อง ซื้อขายออนไลน์คือการซื้อขายในตลาดแบบตรง ผ่าน bangkokbiznews และได้ให้ความรู้เรื่องดังกล่าวผ่านรายการรู้กฎหมายง่ายนิดเดียว ทางคลื่น FM 88 MHz ว่า "หลายคนหันมาหาช่องทางเพิ่มรายได้ด้วยการขายของออนไลน์กันมากขึ้น แม้การแข่งขันจะสูง แต่ก็ถือว่าขายง่าย ลูกค้าเยอะ และเป็นอาชีพที่เหมาะกับสถานการณ์ในช่วงนี้มากที่สุด ปัจจุบันการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านระบบออนไลน์ได้รับความนิยมแบบก้าวกระโดด แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาที่เกิดจากการซื้อขายสินค้าออนไลน์ก็มีมากขึ้นเช่นกัน เช่น ผู้ซื้อไม่ได้รับสินค้า ได้รับสินค้าล่าช้า หรือได้รับสินค้าไม่ตรงตามที่ทำสัญญา ซึ่งผู้บริโภคน้อยรายที่จะทราบว่าการซื้อขายสินค้ารูปแบบดังกล่าวอยู่ภายใต้การควบคุมของ “พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545” และ “พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560” "
“คาร์บอนเครดิต” เครดิตจากการลดก๊าซเรือนกระจกที่ซื้อขายได้
“คาร์บอนเครดิต” เทรนด์ใหม่ในช่วงนี้ ไม่ว่าจะในวงการกฎหมาย วงการธุรกิจ วงการอุตสาหกรรม หรือวงการท่องเที่ยว เราจะได้ยินการหยิบยกนิยามของคาร์บอนเครดิตเข้ามาพูด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรณรงค์ การอนุรักษ์ หรือการใช้เป็นสื่อโปรโมทความเป็น CSR การคำนึงถึงสังคมของแต่ละองค์กร แต่ละภาคส่วน ซึ่งคาร์บอนเครดิตให้ทำความเข้าใจง่ายๆ คือความเชื่อมโยงกันในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือว่าภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือว่า climate change “คาร์บอนเครดิต” เป็นนิยามระดับใหม่ตัวนึง ก็คือระดับของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงก๊าซตัวอื่นๆที่มีการปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศที่ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อภาวะเรือนกระจก และ climate change
กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์
กฎหมายหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ โดยเฉพาะในเรื่องของการควบคุมและป้องกันโรคระบาด มีความสำคัญมาก เพราะการเกิดโรคระบาดสร้างความสูญเสียในแง่เศรษฐกิจเป็นจำนวนมหาศาล ทำให้สัตว์ป่วยและล้มตายเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้เชื้อโรคบางชนิดยังสามารถแพร่กระจายจากสัตว์มาสู่คนได้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขอนามัยของผู้คนในสังคม ซึ่งถือว่าเป็นการบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ กฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องโรคระบาดสัตว์ จึงได้มีการปรับปรุงให้ทันสมัยเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน
[PSUBLaw] “กฎหมายร่างทรง” ในสังคมยุค 4.0
เรื่องของ "ความเชื่อ" เกี่ยวกับวิญญาณหรือเทพจากลัทธิต่างๆ หรือสิ่งที่เหนือการพิสูจน์ของวิทยาศาสตร์ในสังคมไทยยังมีให้เห็นจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุกวันนี้คนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียที่นำเสนอเนื้อหาในประเด็นนี้มากมายหลากหลายรูปแบบ ยิ่งเป็นการตอกย้ำความเชื่อในเรื่องนี้ไปโดยไม่รู้ตัว รวมถึง "ร่างทรง" ซึ่งเป็นหนึ่งในพิธีกรรมและความเชื่อรูปแบบหนึ่งด้วย ประเด็นในเรื่องการกระทำการเป็นร่างทรงกับประเด็นทางกฎหมายนั้น หากจะกล่าวถึงบริบทภายใต้สังคมไทยนั้นถือได้ว่าเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน เนื่องจากเกี่ยวพันกับความเชื่อและจิตใจของคนนั่นเอง
ตลาดนัดผู้บริโภค : กฎหมายร่วมสมัย รู้เท่าทันซื้อขายออนไลน์
ปัจจุบันธุรกิจในโลกออนไลน์ (E-commerce)กำลังเป็นที่แพร่หลาย การซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต จึงเป็นสังคมแห่งข่าวสารที่เปิดกว้าง ผู้บริโภคมีสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศได้อย่างง่ายดายระบบเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วเป็นแรงกระตุ้นในการส่งเสริมการค้าขายผ่านอินเตอร์เน็ต มีการนำเข้าและส่งออกของสินค้าทั้งในและต่างประเทศการซื้อขายในธุรกิจประเภทนี้ช่วยอำนวยความสะดวกต่อการใช้ชีวิต ผู้บริโภคจะประหยัดค่าใช้จ่าย สะดวกสบาย รวดเร็วและสามารถดูสินค้าได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องเดินทางไปที่ร้าน แต่ขณะเดียวกันก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้บริโภคได้เช่น อาจถูกฉ้อโกงเงิน หรือการได้สินค้าที่ไม่มีคุณภาพตรงตามที่โฆษณา เป็นช่องทางของมิจฉาชีพในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในทางลบ เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น
SH&E PSU: การทำงานที่อับอากาศ กับความปลอดภัยในสภาพพร้อมทำงาน
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 กับ COVID-19
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ได้รับผลกระทบกันทั่วโลก ซึ่งการแพร่กระจายนั้นมีปัจจัยจากการดำเนินชีวิตของทุกคนและระบบการจัดการทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ทั้งนี้ทุกภาคส่วนได้มีมาตรการต่างๆที่เป็นการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยยึดหลัก พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 เพื่อให้มีมาตรการทางกฎหมายมีความเหมาะสมในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และโรคติดต่ออื่นที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ว่าด้วยเรื่องกฎหมายกับการบังคับฉีดวัคซีนโควิด-19
การเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ประชาชนส่วนใหญ่จึงประสงค์ที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีน แต่ในทางกลับกันก็อาจจะมีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ประสงค์จะเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ทางรัฐบาลจัดให้ โดยมีเหตุผลหรือความจำเป็นบางประการ เช่น ปัญหาสุขภาพจึงทำให้ไม่สามารถเข้ารับรับวัคซีนได้ มีความเชื่อว่าการรับวัคซีนเป็นการขัดต่อหลักการทางศาสนา หรือมีความกังวลในประสิทธิภาพของวัคซีนที่อาจจะส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายได้
เตือน “April fool’s day” โพสต์หรือแชร์ข่าว ปลอมมีความผิดตามกฎหมาย
กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) เตือนชาวเน็ต สร้างเรื่องหลอกลวง โพสต์หรือแชร์ข่าวปลอมบนโซเชียลมีเดียในวัน April fool’s day อาจผิด พ.ร.บ.คอมฯ และมีโทษตามกฎหมาย จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- 1
- 2