อาจารย์สุพัทธ์รดา เปล่งแสง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เขียนบทความเรื่อง ซื้อขายออนไลน์คือการซื้อขายในตลาดแบบตรง ผ่าน bangkokbiznews และได้ให้ความรู้เรื่องดังกล่าวผ่านรายการรู้กฎหมายง่ายนิดเดียว ทางคลื่น FM 88 MHz ว่า "หลายคนหันมาหาช่องทางเพิ่มรายได้ด้วยการขายของออนไลน์กันมากขึ้น แม้การแข่งขันจะสูง แต่ก็ถือว่าขายง่าย ลูกค้าเยอะ และเป็นอาชีพที่เหมาะกับสถานการณ์ในช่วงนี้มากที่สุด ปัจจุบันการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านระบบออนไลน์ได้รับความนิยมแบบก้าวกระโดด แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาที่เกิดจากการซื้อขายสินค้าออนไลน์ก็มีมากขึ้นเช่นกัน เช่น ผู้ซื้อไม่ได้รับสินค้า ได้รับสินค้าล่าช้า หรือได้รับสินค้าไม่ตรงตามที่ทำสัญญา ซึ่งผู้บริโภคน้อยรายที่จะทราบว่าการซื้อขายสินค้ารูปแบบดังกล่าวอยู่ภายใต้การควบคุมของ “พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545” และ “พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560” "
กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์
กฎหมายหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ โดยเฉพาะในเรื่องของการควบคุมและป้องกันโรคระบาด มีความสำคัญมาก เพราะการเกิดโรคระบาดสร้างความสูญเสียในแง่เศรษฐกิจเป็นจำนวนมหาศาล ทำให้สัตว์ป่วยและล้มตายเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้เชื้อโรคบางชนิดยังสามารถแพร่กระจายจากสัตว์มาสู่คนได้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขอนามัยของผู้คนในสังคม ซึ่งถือว่าเป็นการบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ กฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องโรคระบาดสัตว์ จึงได้มีการปรับปรุงให้ทันสมัยเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน
Blue Economy การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกับการดูแลรักษาระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืน
ในวันที่เราเริ่มตระหนักถึงภัยที่มนุษย์สร้างขึ้น สู่มหันตภัยร้ายอันนำมาซึ่งความตายของสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล และจะมีสักกี่คนที่ตระหนักว่า ท้ายที่สุดแล้วนั้นผลของการเปลี่ยนแปลงจะย้อนกลับมาส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์เอง เศรษฐกิจสีน้ำเงิน จึงเป็นแนวทางการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ที่ให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืน หรือหากกล่าวให้เข้าใจง่ายที่สุด เศรษฐกิจสีน้ำเงิน หมายถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่ส่งผลเสียต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามชายฝั่งและในทะเลนั่นเอง
SH&E PSU EP5 : กฎกระทรวงแผนอัคคีภัย
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 เป็นกฎหมายอยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 โดยกำหนดให้ในสถานประกอบกิจการทุกแห่ง ให้นายจ้างจัดทำป้ายข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดับเพลิงและการอพยพหนีไฟ และปิดประกาศให้เห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 ขึ้นไป นายจ้างต้อง จัดให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยไว้ด้วย และพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยทำการตรวจสอบได้ ประกอบด้วย การตรวจตรา การอบรม การรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย การดับเพลิง การอพยพหนีไฟ และการบรรเทาทุกข์ โดยจัดเก็บแผนดังกล่าวให้สามารถตรวจสอบได้
SH&E ม.อ.มุ่งเน้นบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย เเละสิ่งเเวดล้อมในองค์กร
ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (SH&E PSU) ดำเนินการยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยในมหาวิทยาลัย คณะและส่วนงาน จัดทำแนวทางตรวจสุขภาพประจำปีของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง มีการประเมินความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการด้วยระบบ ESPReL Checklist และรณรงค์เพื่อปลูกจิตสำนึกด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในองค์กร
Reguratory Sandbox เมื่อกฎหมายสร้างกระบะทราย
ในโลกปัจจุบันเต็มไปด้วยความผันผวนที่เกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ในขณะที่กฎหมายถูกตราขึ้นจากประสบการณ์ในอดีตและโดยทั่วไปแล้วถูกใช้เพื่อควบคุมกำกับดูแลสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตเมื่อความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็วกว่าในอดีต ทำให้ความสามารถในการคาดการณ์หรือพยากรณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตมีอยู่อย่างจำกัด อำนาจของกฎหมายในการควบคุมความเป็นไปของสังคมจึงถูกลดทอนลงเป็นอันมากประกอบกับการปรับตัวของกฎหมายที่เป็นไปอย่างเชื่องช้าและเต็มไปด้วยข้อจำกัด เราจึงพบปัญหาว่ากฎหมายหรือกฎระเบียบจำนวนมากล้าสมัยไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเป็นอุปสรรคต่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
นายจ้างบังคับให้ลูกจ้างฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่ ?
การระบาดในระลอกล่าสุดมีการเพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว การเสียชีวิตจากโควิดก็มากขึ้น โดยเฉพาะการแพร่ระบาดในสถานประกอบกิจการ ในโรงงานหรือที่พักคนงานก่อสร้าง เหตุผลการแพร่ระบาดดังกล่าวนำมาซึ่งมาตรการของนายจ้าง โดยการออกคำสั่งประกาศให้ลูกจ้างต้องใส่แมส ห้ามเดินทางไปพื้นที่เสียง หรือห้ามไปกินเลี้ยงกันบุคคอื่น หากไปพื้นที่เสี่ยง จะต้องกักตัว ไม่จ่ายค่าจ้าง หรือต้องไปตรวจหาเชื้อให้ปลอดจากโรคแล้วค่อยมาทำงาน หรือออกคำสั่งให้ไปฉีดวัคซีนกับทางการ หรือตามที่นายจ้างจัดให้ฉีด หากไม่ไปจะไม่ให้เข้าทำงานชั่วคราว หรือลงโทษทาง วินัย เลิกจ้าง ตัด หรือไม่ขึ้นค่าจ้าง สวัสดิการ เป็นต้น
PSUBLaw : ความผิดเกี่ยวกับการทำให้เสียชื่อเสียง
การพูดนั้นสิ่งสำคัญ ต้องพูดแล้วไม่เดือดร้อนผู้อื่นหรือไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อน ต้องตระหนักอยู่เสมอก่อนพูด ว่าคำพูดที่พูดออกไปนั้นจะ "หมิ่นประมาท" หรือไม่? กรณี "หมิ่นประมาท" นอกจากจะมีความผิดทางอาญาแล้ว ผู้กระทำผิดยังต้องรับผิดทางแพ่งซึ่งต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายอีกกรณีหนึ่งพร้อม ๆ กัน โดยจะแยกพิจารณาให้เห็นความรับผิดเกี่ยวกับคดีหมิ่นประมาท
คดีล้มละลายและคดีฟื้นฟูกิจการ – PSUB Law
“คดีล้มละลาย” คือ คดีที่เกิดจากการที่บุคคลมีหนี้สินมากเสียจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ และเพื่อหาวิธีการที่ทำให้บุคคลดังกล่าวหลุดพ้นจากหนี้นั้น วัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลายจึงมีอยู่สองประการ โดยประการแรก คือ การทำให้เจ้าหนี้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมในการจัดสรรแบ่งปันทรัพย์สินของลูกหนี้ และประการที่สอง คือ การทำให้ลูกหนี้ที่สุจริตได้รับโอกาสในการเริ่มต้นชีวิตใหม่
กฎหมายขายฝาก & สิทธิ์การไถ่คืน
กฎหมายขายฝากฉบับใหม่มีผลตั้งแต่ 17 เมษายน 2562 ทำให้ “การขายฝากที่ดินเพื่อการเกษตรและที่อยู่อาศัย” กลายมา เป็นธุรกรรมที่ถูกควบคุมเข้มงวด โดยคุ้มครองและให้สิทธิกับฝั่งผู้ขายฝากอย่างมาก ในขณะที่ผู้รับซื้อฝากต้องกลายเป็นฝ่ายเสียประโยชน์
- 1
- 2