“ปาดตะปุ่มผิวเรียบ” ตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ด้านระบบนิเวศ เขาคอหงส์ จ.สงขลา

ดร. ยิ่งยศ ลาภวงศ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ปาดตะปุ่มผิวเรียบ หรือปาดตะปุ่มหลังเรียบ พบได้ในประเทศมาเลเซียและพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยในพื้นที่ป่าที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เช่น เขาหลวงนครศรีธรรมราช และป่าฮาลา-บาลา และป่าที่จังหวัดนราธิวาส ปาดตะปุ่มผิวเรียบมีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่ในโพรงต้นไม้ที่มีน้ำขัง หรือตามซอกกาบใบของพืชต่างๆ ใช้โพรงต้นไม้นี้ในการวางไข่ เลี้ยงดูลูกอ๊อด โดยปาดชนิดนี้เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่าได้ ส่วนด้านของระบบนิเวศมีบทบาทเป็นผู้บริโภคซึ่งจะกินแมลงเป็นอาหารคล้ายกับกบทั่วไป แต่จะมีความแตกต่างในเรื่องพื้นที่อาศัย โดยปาดมักอาศัยตามต้นไม้เป็นผลให้ระบบนิเวศมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

อ่านต่อ →